“สิทธิบัตรทอง” สิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของคนไทยที่ควรรู้

สิทธิบัตรทอง

เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย มักจะมาพร้อมกับค่ารักษาพยาบาลที่ตามมา หลายคนเลือกที่จะไม่เข้ารับการรักษาเนื่องจากมีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย แต่รู้หรือไม่ว่า แท้จริงแล้วคนไทยทุกคน มีสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดย สิทธิบัตรทอง คือ หนึ่งในนั้น

ปัจจุบันประเทศไทยนั้น การคุ้มครองสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ แบ่งออกเป็น 3 ระบบใหญ่ ๆ ได้แก่  

  1. สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ  
  2. สิทธิประกันสังคม  
  3. สิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ สิทธิ 30 บาท หรือ “สิทธิบัตรทอง” 

โดยวันนี้ร้านยาเอ็กซ์ต้า พลัส จะมาอธิบายรายละเอียดในส่วนของ “สิทธิบัตรทอง” สิทธิ์ในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของคนไทยที่ควรรู้ กันค่ะ  

 

สิทธิบัตรทอง คือ อะไร 

สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ บัตรทอง คือ สิทธิตามกฎหมายของคนไทย ที่ใช้ในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข และการแพทย์ เพื่อการรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉัย ส่งเสริมด้านสุขภาพ และการป้องกันโรค ฯลฯ 

สิทธิบัตรทองนั้นไม่เพียงแต่ใช้ได้กับกับการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ยังสามารถใช้ได้กับแพทย์แผนไทย รวมไปถึงแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ ตามกฎหมายการประกอบโรคศิลปะ 

แนวทางการใช้งานสิทธิบัตรทองมี ดังนี้ 

  1. ติดต่อหน่วยบริการประจำตามสิทธิ 
  2. แสดงความจำนง การใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือ สิทธิบัตรทองแก่เจ้าหน้าที่ 
  3. แสดงบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อเข้ารับบริการ 

คนไทยที่ได้รับ สิทธิบัตรทอง คือ ใครบ้าง

ผู้ที่ได้รับ สิทธิบัตรทอง คือ ใครบ้าง

หลายคนอาจมีความเข้าใจเบื้องต้นว่า สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือสิทธิบัตรทองจะคุ้มครอง ผู้สูงอายุ แรงงานนอกระบบ หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ  

ซึ่งหากขยายความสิทธิบัตรทองจะครอบคลุมสิทธิ์แก่ คนไทยที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ซึ่งยังไม่ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจใด ๆ รวมไปถึงยังไม่ได้รับสิทธิประกันสังคม ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะมีสิทธิหลักประกันสุขภาพตามกฎหมาย และสามารถลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  

ยกตัวอย่างกลุ่มคนที่ได้รับสิทธิบัตรทอง เช่น  

  • เด็กแรกเกิด ที่ไม่ได้มีสวัสดิการข้าราชการจากพ่อแม่ 
  • บุตรข้าราชการคนที่ 4 (เนื่องจากสิทธิ์ข้าราชการคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน) 
  • ข้าราชการที่เกษียณอายุหรือออกจากข้าราชการ โดยไม่มีบำนาญ 
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระและไม่ได้เป็นผู้ประกันตน ฯลฯ 

เช็กสิทธิการรักษาพยาบาลด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ได้ที่  

  1. สอบถามด้วยตัวเองที่ สถานีอนามัย, โรงพยาบาลใกล้บ้าน, สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัด, สำนักงานเขต, หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) 
  2. โทร 1330 กด 2 ตามด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก (ค่าบริการ 3 บาทต่อครั้ง) 
  3. ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ www.nhso.go.th 
  4. ตรวจสอบผ่าน Application สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง 
  5. LINE Official Account สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ 

ลงทะเบียนรับสิทธิบัตรทองผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ Application สปสช. หรือ LINE Official Account  สปสช. @nhso 

สิทธิบัตรทอง คือ สิทธิในการคุ้มครองอะไรบ้าง

สิทธิบัตรทอง คือ สิทธิในการคุ้มครองอะไรบ้าง

ผู้ที่ถือสิทธิบัตรทอง จะได้รับการคุ้มครองค่าใช้จ่ายด้านบริการสาธารณสุข โดยคุ้มจะครองบริการ ดังนี้  

  1. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 
  2. การตรวจวินิจฉัยโรค
  3. การตรวจและรับฝากครรภ์
  4. การบำบัดและการบริการทางการแพทย์ 
  5. ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ 
  6. การทำคลอด 
  7. การกินอยู่ในหน่วยบริการ 
  8. การบริบาลทารกแรกเกิด 
  9. บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย 
  10. บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ 
  11. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ 
  12. บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ 
  13. บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม 
  14. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด 
  15. การบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุและการประสบภัยจากรถยนต์ 
  16. การรักษาโรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน 

อัปเดตบริการผู้ถือสิทธิบัตรทองจากสปสช. “เจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการรับยาไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ร้านยาเอ็กซ์ต้า พลัส” 

ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิบัตรทองเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3jCkz8I หรือสายด่วนสปสช. 1330  

ที่มา ราชกิจจานุเบกษา, สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วม สปสช. , ข่าวประชาสัมพันธ์ สปสช. 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง