แผลเป็นชนิดนี้ ใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะหาย

ใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะหาย

‘แผลเป็น’ ปัญหากวนใจของใครหลายคน ที่เมื่อเป็นแล้วอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจ ทำให้ไม่มั่นใจในตัวเองต้องปกปิดตลอดเวลาหากใครพบเจอกับปัญหาเหล่านี้และมีข้อสงสัยว่าแผลชนิดนี้จะสามารถหายได้ช้าหรือเร็ว บทความนี้ เอ็กซ์ต้า พลัส จึงขอนำความรู้ดี ๆ แผลเป็นชนิดนี้ ใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะหาย มาฝากกันค่ะ


การเกิดแผลเป็นนั้น คือกระบวนการรักษาตัวเองตามธรรมชาติของร่างกาย ด้วยการแทนที่เซลล์ผิวหนังเก่าที่บาดเจ็บซึ่งอาจเกิดมาจากการติดเชื้อ ผ่าตัดหรือการอักเสบ เป็นต้น ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น แบบนูนเกิน แบบวงกว้าง หรือแบบคีลอยด์ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัยทั้งตำแหน่งที่เป็น ประเภทผิวหนัง ลักษณะอาการบาดเจ็บ อายุ รวมไปถึงสารอาหารภายในร่างกาย บางครั้งอาจมีอาการเจ็บหรือคันร่วมด้วยเเละมีข้อสงสัยในเรื่องเเผลว่า แผลเป็นชนิดนี้ ใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะหาย อีกด้วย

 

มีวิธีรักษาหลากหลายวิธีทำยังไง ใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะหาย เช่น วิธีอนุรักษ์(Conservative) เป็นการใช้แผ่นซิลิโคนปิดบนแผลหรือ ใช้แผ่นเทปเหนียว (Microporous Tape) การฉีดยาสเตียรอยด์ ด้วยการฉีดยาเข้าไปที่แผลโดยตรง,การผ่าตัด และการดูแลเบื้องต้นด้วยตัวเอง เช่น การทาครีมที่มีคุณสมบัติดูแลแผลเป็นโดยเฉพาะ และนวดคลึงเบา ๆ เป็นประจำทุกวัน จะช่วยให้แผลเป็นมีความชุ่มชื้นและมีความอ่อนนุ่มขึ้น

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง แผลเป็นชนิดนี้ ใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะหาย

ใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะหาย

แผลเป็นนูนเกิน (𝗛𝘆𝗽𝗲𝗿𝘁𝗿𝗼𝗽𝗵𝗶𝗰 𝗦𝗰𝗮𝗿𝘀)

ยังไม่มีการทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาจมาจากการที่แผลเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ผิวหนังตึงมาก เช่น  บริเวณข้อต่อหรือกลางหน้าอก ซึ่งมักจะเริ่มเกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์หลังจากการบาดเจ็บ เบื้องต้นควรดูแลได้ด้วยการทาครีมที่มีส่วนช่วยในการดูแลแผลเป็น ให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นและนุ่มขึ้น ในบางกรณีสามารถใช้ซิลิโคนปิดรักษาได้หรือหากต้องการรักษาแบบรวดเร็วสามารถใช้วิธีการผ่าตัด ควบคู่ไปกับการฉีดยาสเตียรอยด์หลังการผ่าตัดจะใช้ระยะเวลาในการฉีดยาถึง 2 ปี เพื่อให้การรักษานั้นมีประสิทธิภาพและลดโอกาสการเกิดซ้ำอีกครั้ง

ใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะหาย

แผลเป็นวงกว้าง (𝗪𝗶𝗱𝗲𝘀𝗽𝗿𝗲𝗮𝗱 𝗛𝘆𝗽𝗲𝗿𝘁𝗿𝗼𝗽𝗵𝗶𝗰 𝗦𝗰𝗮𝗿𝘀)

สาเหตุมาจากไฟไหม้ การบาดเจ็บจากเครื่องจักรหรือการติดเชื้อที่ทำให้เนื้อตาย สามารถใช้หลากหลายวิธีในการรักษาร่วมกัน เช่น ทาครีมที่ส่วนดูแลแผลเป็น, ใช้แผ่นซิลิโคน ปิดแผล, การทำกายภาพบำบัดรวมกับการนวดแผลเป็น(Massage), การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า (Electrical Stimulation) และการผ่าตัด เป็นต้น

 

ใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะหาย

แผลเป็นคีลอยด์ (𝗞𝗲𝗹𝗼𝗶𝗱 𝗦𝗰𝗮𝗿𝘀)

ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด โดยส่วนใหญ่มักพบในผู้ป่วยที่มีผิวสีเข้ม บริเวณหัวไหล่ ติ่งหูและกลางหน้าอก บางส่วนพบในผู้ที่มีประวัติทางพันธุกรรมพ่อหรือแม่มีประวัติเป็นคีลอยด์ เบื้องต้นควรดูแลด้วยการทาครีมที่มีส่วนช่วยในการดูแลแผลเป็น ให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นและนุ่มขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการรักษาต่อไป

 

คีลอยด์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1.  Minor Keloid มีลักษณะเป็นสีแดงนูนเกินขอบเขตแผลเดิม ยังไม่มีวิธีการรักษาที่แน่นอน ส่วนใหญ่นั้นจะใช้วิธีเย็บปิดแผล ซึ่งมีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนสูงดังนั้นจึงต้องตามมาด้วยการรักษาแบบฉีดยาสเตียรอยด์ควบคู่กันไปด้วย
  2. Major Keloid มีลักษณะเป็นสีเข้มนูนเกินขอบเขตแผลเดิม มักไม่ตอบสนองต่อการรักษา ทำให้มีการรักษาด้วยการผ่าตัดซ้ำสูง มีการฉายแสงหลังผ่าตัดเพื่อลดโอกาสเกิดซ้ำ

หากใครที่กำลังมองหาครีมที่มีคุณสมบัติดูแลแผลเป็นเอ็กซ์ต้า พลัสขอแนะนำ ซีเบลสการ์ เจล ประกอบด้วยสมุนไพรจากหัวหอม และใบบัวบกซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างคอลลาเจนที่มากผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของแผลเป็น อีกทั้งยังมีสารไซลานอล ช่วยลดรอยนูนแดงให้แผลสมานกันได้เป็นไปอย่างดี

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยาสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา