รวมคำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการใช้ สิทธิบัตรทอง เพื่อรับยาไม่มีค่าใช้จ่าย

banner-1024x537 รวมคำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการใช้ สิทธิบัตรทอง

หลายคนคงมีคำถามเกี่ยวกับการใช้ สิทธิบัตรทอง เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ ในการรับยาได้ ไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส


เนื่องด้วยเอ็กซ์ต้า พลัส ร้านยาใกล้บ้านเพื่อชุมชน ร่วมเป็นหน่วยบริการ สปสช. ในการเสริมสร้างสุขภาพดีให้แก่คนไทย ด้วยบริการสำหรับผู้ป่วยที่มี สิทธิบัตรทอง หากมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยครอบคลุม 16 อาการ สามารถรับยาได้ ไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส กว่า 200 สาขาทั่วประเทศ บทความนี้จึงจะพาทุกท่านไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ คำถามต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยในการเข้ารับบริการกันค่ะ


สิทธิบัตรทองคืออะไร

“สิทธิบัตรทอง” เป็นสิทธิที่ให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ แรงงานนอกระบบ หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ
ซึ่งจะช่วยให้คนกลุ่มนี้สามารถใช้บริการการแพทย์และยาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในร้านยา
โดยสามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ www.nhso.go.th

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “สิทธิบัตรทอง” (คลิก)

เอ็กซ์ต้า พลัส ร้านยาใกล้บ้านเพื่อชุมชน ร่วมเป็นหน่วยบริการสปสช. เสริมสร้างสุขภาพดีให้แก่คนไทย พร้อมให้คำแนะนำและให้ยา ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ แก่ผู้มี สิทธิบัตรทอง กว่า 48 ล้านคน หรือกว่า 6 ล้านคนทั่วกรุงเทพฯ เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทย


 

สิทธิบัตรทอง

หากจะใช้ สิทธิบัตรทอง เพื่อรับยา ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

ตอบ: ใช้เพียงบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มารับบริการเพียงใบเดียว เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือเภสัชกรที่ร้านยาตรวจสอบสิทธิบัตรทอง

หากมีประกันสังคม สามารถรับยาได้ไหม?

ตอบ: โครงการนี้ สำหรับผู้ที่มีสิทธิบัตรทอง เจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการเท่านั้น “ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม ยังไม่สามารถเข้ารับบริการนี้ได้”

สิทธิบัตรทอง
สิทธิบัตรทอง

อาการเจ็บป่วยใดบ้่าง ที่สามารถรับยาได้?

ตอบ: เจ็บป่วยเล็กน้อย ครอบคลุม 16 กลุ่มอาการ ได้แก่

มีไข้, ไอ, เจ็บคอ, ปวดหัว, เวียนหัว, ปวดท้อง, ท้องเสีย, ท้องผูก, ปัสสาวะลำบาก, ตกขาวผิดปกติ, ปวดข้อ, เจ็บกล้ามเนื้อ, มีบาดแผล, อาการทางผิวหนัง ผื่น คัน, ความผิดปกติต่าง ๆ เกี่ยวกับตา และความผิดปกติต่าง ๆ เกี่ยวกับหู

ใช้สิทธิบัตรทองรับยา มีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่?

ตอบ: หากเข้ารับบริการ เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ สำหรับผู้มีสิทธิบัตรทอง ไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่ต้องสำรองจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

สิทธิบัตรทอง
สิทธิบัตรทอง

สามารถเข้ารับบริการได้กี่ครั้งต่อวัน?

ตอบ: ผู้ป่วยจะสามารถเข้ารับบริการได้ไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน ไม่ว่าจะไปที่ร้านยาที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการ สปสช. แห่งใดก็ตาม

ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส สาขาใดบ้าง ที่สามารถใช้ สิทธิบัตรทอง เพื่อรับยาได้?

ตอบ: สามารถสแกน QR Code เพื่อตรวจสอบสาขาร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ที่ร่วมเป็นหน่วยบริการ สปสช. หรือมองหาร้านยาที่มีสัญลักษณ์ ‘ร้านยาคุณภาพของฉัน’ หรือตรวจสอบสาขาผ่านลิงก์นี้ คลิก

สิทธิบัตรทอง

 

สิทธิบัตรทอง คือ สิทธิ์การรักษาพยาบาลของคนไทยที่มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพราะฉะนั้น หากผู้ใดที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยครอบคลุม 16 อาการ อย่าลืมตรวจเช็ก สิทธิบัตรทอง ของท่าน เพื่อประโยชน์ในการเข้ารับบริการตามสิทธิ หรือเข้ารับยาได้ ไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่ร้านยา เอ้กซ์ต้า พลัส นะคะ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

สายด่วน สปสช. โทร 1330 เปิดบริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

LINE: @nhso

E-Mail: 1330@nhso.go.th

Website: www.nhso.go.th

 

ติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

Website: https://dev.exta.co.th/

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

Instagram: instagram.com/extaplus

YouTube: youtube.com/eXtaHealthBeauty


ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส สร้างความสะดวกและความไว้วางใจให้ชุมชน เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการใช้ยาที่มีคุณภาพ

 เพราะเรารู้ว่า…เรื่องของสุขภาพ เป็นเรื่องที่รอไม่ได้


 

สิทธิบัตรทอง

 

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยาสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา