4 ยาต้องห้ามในสัตว์เลี้ยง เพราะยาคนใช้ร่วมกับสัตว์เลี้ยงไม่ได้ !

ยาคนใช้ร่วมกับสัตว์เลี้ยงไม่ได้

ยาคนใช้ร่วมกับสัตว์เลี้ยงไม่ได้ ! เพราะถึงแม้ว่าจะเป็น ยารักษาโรคเหมือนกัน แต่จะมาใช้เหมือนกันไม่ได้ คำถามยอดฮิตที่เหล่าเภสัชกรและสัตวแพทย์ต่างพบได้บ่อย ๆ ว่ายาของคนสามารถใช้กับสัตว์เลี้ยง อย่าง หมาหรือแมวได้หรือไม่? จึงมีหลายครั้งที่ผลการออกฤทธิ์ของยา กลายเป็นผลเสียอันตรายต่อสุขภาพและอาจถึงแก้ชีวิตของสัตว์เลี้ยงที่คุณรักได้


ดังนั้นวันนี้ เอ็กซ์ต้า จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 4 ยาต้องห้ามในสัตว์เลี้ยง เพราะ ยาคนใช้ร่วมกับสัตว์เลี้ยงไม่ได้ ! กันค่ะ

1. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)

ผลที่เกิดจากพิษของยาพาราเซตามอลในสัตว์เลี้ยงนั้น จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก เกิดความเสียหายต่อตับ ไต และระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจะมีผลในแมวมากกว่าสุนัข ส่งผลให้แมวเสียชีวิตได้ง่ายกว่า โดยอาการที่แสดงความเป็นพิษ ได้แก่ น้ำลายฟูมปาก อาเจียน ซึม หายใจลำบาก เหงือกมีสีคล้ำ อุ้งมือและอุ้งเท้าบวม หน้าบวมและเบื่ออาหาร

ส่วนอาการที่แสดงความเป็นพิษในสุนัข ได้แก่ ซึม อาเจียน ปัสสาวะสีน้ำตาลแดงคล้ำ และอาจเสียชีวิตใน 2-5 วัน เนื่องจากตับและไตถูกทำลาย


2. ยาแก้ปวด ลดไข้ 

หากสัตว์เลี้ยงได้รับ แม้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย อาจเป็นพิษรุนแรงได้ เช่น เกิดเลือดออกและแผลหลุมในกระเพาะอาหาร จนถึงไตวาย

โดยอาการที่แสดงความเป็นพิษ ได้แก่ เบื่ออาหาร อาเจียน จนถึงอาเจียนเป็นเลือด อุจจาระสีดำคล้ำ ปวดท้องรุนแรง อ่อนแรง หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้


3. ยาแก้อักเสบ 

ตัวยาแอสไพริน ในกลุ่ม ยาแก้อักเสบ มีผลต่อการแข็งตัวของเกร็ดเลือด ทำให้เลือดไหลไม่หยุด ตกเลือด และเกิดความเสียหายต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบการหายใจ ระบบประสาท และไตวายได้ ซึ่งแมวจะไวต่อสารพิษมากกว่าสุนัข เนื่องจากร่างกายของแมวจะขับสารพิษออกได้ช้ากว่า

โดยอาการที่แสดงความเป็นพิษในแมว ได้แก่ ซึม อาเจียน จนถึงอาเจียนเป็นเลือด หายใจถี่ อุณหภูมิร่างกายสูง อ่อนแรง ปอดบวม สมองบวม โคม่า และเสียชีวิตได้

ส่วนสุนัขนั้น มักพบอาการระคายเคืองทางเดินอาหาร มีเลือดออก และเกิดแผลหลุมในกระเพาะอาหาร


4. ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก 

อาการมักจะแสดงเมื่อได้รับยาเกินขนาด ทำให้เป็นพิษร้ายแรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง

โดยอาการที่แดสคงวามเป็นพิษโดยส่วนใหญ่ คือ อาการตื่นเต้น ไปจนถึงมีอาการชัก อาการซึม ไปจนถึงโคม่า หายใจลำบากอย่างรุนแรง รวมถึงอาจพบอาการท้องเสียและอาเจียนร่วมด้วย


เพราะถึงแม้ในบางครั้ง สัตว์แพทย์อาจสั่งยาของคน เพื่อทำการรักษาสัตว์ แต่การตอบสนองของร่างกายของคนและสัตว์นั้นอาจแตกต่างกัน ยาบางชนิดมีพิษต่อคนต่ำ แต่มีพิษต่อสัตว์สูง รวมถงปริมาณการใช้ยาที่แตกต่างกัน


เพราะฉะนั้น ยาคนใช้ร่วมกับสัตว์เลี้ยงไม่ได้ จึงไม่ควรซื้อยา และให้ยาของคนกับสัตว์เลี้ยง โดยที่ไม่ได้รับคำแนะนำจากสัตวแพทย์ก่อน เพื่อสัตว์เลี้ยงที่คุณรักนะคะ #เอ็กซ์ต้าเป็นห่วงนะ👩🏻‍⚕️💙


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  • บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน (no date) สัตว์เลี้ยงกับยา | โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล. Available at: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/319/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B8%B2/ (Accessed: October 26, 2022).

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา