ในหลาย ๆ ครั้ง บรรจุภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง อาจเป็นสิ่งที่ใครหลายคนมองข้ามการแยกขยะจากสิ่งเหล่านี้ไป เพราะ บรรจุภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง ที่ใช้แล้วนั้น ถูกผลิตด้วยวัสดุที่หลากหลาย ทำให้อาจไม่แน่ใจนักว่าควรจะแยกทิ้งในถังขยะประเภทไหนดี
แต่รู้หรือไม่❓ ว่าใน 1 ปี มีบรรจุภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง ที่ถูกผลิตออกมามากกว่า 1 แสนล้านชิ้น และส่วนมากไม่ได้ถูกรีไซเคิลอย่างถูกวิธี
ดังนั้น บทความนี้จะพาทุกท่านมาแยกขยะกันก่อนทิ้ง และดูวิธีเช็กว่า บรรจุภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง ที่ใช้แล้ว นั้น สามารถรีไซเคิลได้หรือไม่ กันค่ะ
โดยส่วนมากแล้ว บรรจุภัณฑ์ยาและเครื่องสำอางมักผลิตด้วยขวดพลาสติกชนิดต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในท้องตลาด หรือขวดแก้ว ซึ่งจะระบุสัญลักษณ์ที่บอกประเภทไว้บนฉลากหรือบนบรรจุภัณฑ์โดยตรง จึงสามารถแยกประเภทได้ต่อไปนี้
ขวดพลาสติกแบบใส PET (Polyethylene Terephthalate)
ขวดพลาสติกแบบใส หรือขวด PETE เป็นขวดพลาสติกที่มีความโปร่งใสและแข็งแรง มักนำมาผลิตขวดสบู่ ขวดสเปรย์ หรือขวดคลีนซิ่ง สามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้ มีสัญลักษณ์รีไซเคิลรูปทรงสามเหลี่ยมหมายเลข 1
ขวดพลาสติก HDPE (High Density Polyethylene)
ขวดพลาสติกแบบสีทึบ หรือขวด HDPE เป็นขวดพลาสติกที่มีความหนาแน่นและความยืดหยุ่นสูง ทนต่อความร้อน สารเคมี กรด และความด่างได้ดี นิยมนำมาผลิตขวดยา ขวดแชมพู ขวดบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางต่าง ๆ มีสัญลักษณ์รีไซเคิลรูปทรงสามเหลี่ยมหมายเลข 2
ขวดพลาสติกแบบขุ่น PP (Polypropylene)
ขวดพลาสติกแบบขุ่น หรือขวด PP เป็นขวดพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา แต่แข็งแรงทนทาน ไม่เปราะหักง่าย ทนต่อความร้อนและแรงกระแทกได้สูง ทำให้นิยมนำมาผลิตขวดยา ตลับเครื่องสำอาง หรือฝาขวด มีสัญลักษณ์รีไซเคิลรูปทรงสามเหลี่ยมหมายเลข 5
ขวดแก้วชนิดต่าง ๆ
ขวดแก้ว มีลักษณะโปร่งใส หรือมีสีแล้วแต่ชนิดของขวดแก้ว โดยทั่วไปสามารถแยกได้ 3 สี เช่น สีใส สีชา และสีอื่นๆ ซึ่งแต่ละสีอาจมีคุณสมบัติที่ต่างกัน แต่มีความแข็งแรงทนทาน สามารถทนความร้อน สารเคมี กรด และด่างได้สูง ไอน้ำและแก๊สไม่สามารถไหลผ่านได้ จึงนิยมนำมาผลิตขวดยา หรือขวดอาหารเสริม และสามารถรีไซเคิลได้เช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นขวดแก้วสีใดก็ตาม มีสัญลักษณ์รีไซเคิลรูปทรงสามเหลี่ยมหมายเลข 70, 71 และ 72
How to แยกขยะ บรรจุภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง ก่อนนำไปทิ้ง
-
ทำความสะอาดบรรจุภัณฑ์ด้วยน้ำสะอาด
-
แยกชิ้นส่วนของบรรจุภัณฑ์ระหว่างฝากับขวด เพราะเป็นวัสดุคนละชนิดกัน
-
แยกทิ้งลงในขยะรีไซเคิล เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลต่อไป
ข้อควรระวังในการทิ้ง บรรจุภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง บางชนิด รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุแล้ว อาจมีส่วนประกอบของสารเคมีที่อันตรายหากปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อม เช่น ยาฆ่าเชื้อ ยาปฏิชีวนะ ยาแก้โรคซึมเศร้า ยาลดความดัน ซึ่งจำเป็นต้องแยกทิ้งในถังขยะอันตรายเท่านั้นนะคะ
🔈 หรือหากใครที่มียาเหลือใช้ และยังไม่หมดอายุ สามารถร่วมบริจาคได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ในโครงการ รับบริจาคยาเหลือใช้ ส่งให้โรงพยาบาลอุ้มผาง ปี 5 เพื่อผู้ป่วยชายขอบ ที่อยู่ในกลุ่มผู้ไม่มีสิทธิในหลักประกันสุขภาพ
📌ได้ตั้งแต่ วันนี้ – วันที่ 31 ตุลาคม 2565 โดยสามารถอ่านรายละเอียดเงื่อนไขการรับบริจาคยาเหลือใช้เพิ่มเติมได้ที่ 👉🏻 https://bit.ly/3Qb3MnO
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
เอกสารอ้างอิง
- E-report.pcd.go.th. 2022. [online] Available at: <http://e-report.pcd.go.th/pcd-erw/web/uploads/content/files/5df70be37e8f1.pdf> [Accessed 1 August 2022].