อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid


ลองโควิด (Long Covid) คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่นานกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30 – 50 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรง

โดยอาการที่พบบ่อย คือ

เหนื่อยง่ายหายใจไม่อิ่ม อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ ไอเรื้อรัง เจ็บหน้าอก ใจสั่น การรับรส และได้กลิ่นผิดปกติ เครียด มีภาวะซึมเศร้า หรือวิตกกังวล ท้องเสีย ผมร่วง

โดยพบว่าในหลายอาการเกิดจากสาเหตุ ของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และนำไปสู่ภาวะที่ร่างกายเกิดความอ่อนแอ และสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้ง่าย


ดังนั้น การได้รับอาหารที่ดี สารอาหารเพียงพอทั้งในเรื่องของพลังงาน โปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ จึงจำเป็นมากสำหรับผู้ป่วยลองโควิด ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง และสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค  โดยแนะนำการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด ย่อยง่าย และหากมีอาการเบื่ออาหาร ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆ หลายๆ มื้อ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดวัน ไม่ให้ร่างกายอ่อนล้า อ่อนเพลีย และควรเลือกกินอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม เนยแข็ง ถั่วต่างๆ เต้าหู้ รวมทั้งบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ได้แก่ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว โดยควรเลือกชนิดที่มีนํ้าตาลน้อย กินร่วมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น เพื่อเป็นอาหารให้จุลินทรีย์สุขภาพ และยังช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย


หลีกเลี่ยงอาหารประเภท Junk Food อาทิ อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง อาหารหมักดอง อาหารปิ้งย่าง ของทอด ของมัน หรืออาหารรสจัด ย่อยยาก รวมทั้งควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาหารเหล่านี้มีผลทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง


อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

ปัจจุบันยังมี อาหารทางการแพทย์ ซึ่งในผู้ป่วยลองโควิดบางรายถูกแนะนำให้รับประทาน อาหารทางการแพทย์ให้สารอาหารทั้งโปรตีน คาร์โบไฮดรต ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุที่ครบถ้วน โดยจะแนะนำให้รับประทานนอกเหนือจากมื้ออาหารปกติ โดยรับประทานเป็นเครื่องดื่มช่วงมื้อว่าง หรือ รับประทานหลังอาหารทันที เพื่อใม่ให้รบกวนการได้รับสารอาหารจากมื้ออาหารปกติ และช่วยเสริมให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานและโปรตีนที่เพียงพอ ทำให้ร่างกายแข็งแรง และช่วยเพิ่มน้ำหนักและมวลกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักลดลง


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  1. Heike Melbourne. Nutrition & Long Covid. October 2021. Retrieved on June 1, 2022 from https://www.buckshealthcare.nhs.uk/wp-content/uploads/2021/10/Nutrition-and-Long-COVID.pdf.
  2. NHS England. Eating Well. 28 July 2020. Retrieved on June 1, 2022 from https://www.yourcovidrecovery.nhs.uk/your-wellbeing/eating-well/
  3. กรมอนามัย. กรมอนามัย แนะผู้ป่วยลองโควิด-19 เน้นกิน ‘โปรตีน – โพรไบโอติกส์ – วิตามิน’ ช่วยฟื้นฟูร่างกาย. 16 กุมภาพันธ์  Retrieved on June 1, 2022 from https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/160265/.
  4. อ. ดร. พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล. อาการที่พบบ่อยในภาวะ Long COVID. 17 ตุลาคม Retrieved on June 1, 2022 from https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0-long-covid/

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา