เสียงกุกกักกรอบแกรบที่หัวเข่า บางคนมีแต่เสียง ยังไม่ปวด บางคนเริ่มปวดเข่า บางคนปวดมาก เวลาเปลี่ยนท่า ต้องค่อยๆขยับ บางทีจะก้าวออกจากลิฟต์ เสียงเข่าดังจนคนมอง
หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่เคยมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นอาการเริ่มต้นของภาวะเข่าเสื่อม แต่อย่าเพิ่งกลุ้มใจไป ลองสำรวจตัวเองก่อนว่า
เรามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งอยู่หรือเปล่า และมีทางปรับแก้อย่างไรบ้าง
-
งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ดื่มกาแฟเยอะ ดื่มมานาน คาเฟอีนมีส่วนในการลดการดูดซึมแคลเซียม รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอื่นๆ เช่นน้ำอัดลม ชา หากลดปริมาณการดื่มได้ จะช่วยในการรักษามวลกระดูกได้ หรือควรดื่มนมเพื่อชดเชยปริมาณแคลเซียมให้มากขึ้น สามารถป้องกันเข่าเสื่อมได้
-
ควรขยับร่างกายเคลื่อนไหว ออกกำลังกายอยู่เสมอ ไม่ออกกำลังกาย การที่ร่างกายไม่เคลื่อนไหว หรือในวัยหนุ่มสาวไม่ค่อยออกกำลังกาย จะทำให้เห็นความเสื่อมของกระดูก พบภาวะกระดูกพรุนได้ชัดเจนในวัยสูงอายุ ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ในวัยหนุ่มสาว หรือสูงอายุ ควรขยับร่างกายเคลื่อนไหว ออกกำลังกายอยู่เสมอ โดยเลือกการออกกำลังที่ไม่กระแทกข้อเข่า จะเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของข้อเข่าได้เป็นอย่างดี
-
ควรรักษาน้ำหนักให้เหมาะสม น้ำหนักตัวมาก ข้อเข่าซึ่งรับน้ำหนักที่กดบีบมาก จะเสื่อมหรือบางลง ควรรักษาน้ำหนักให้เหมาะสม อาการปวดเข่าก็จะน้อยลง
-
งดชอบนั่งยอง การนั่งยองๆ เพื่อซักผ้า เล่นกับสัตว์เลี้ยง ปลูกต้นไม้ หรือทำกิจกรรมที่ใช้เวลานาน จะทำให้เข่าเสื่อมอย่างรวดเร็ว เพราะท่านั่งยองๆเป็นท่าที่ข้อเข่ารับแรงบีบอัดมากกว่าปกติถึง 8 เท่า เราอาจหาเก้าอี้เตี้ยมารองนั่งเวลาทำกิจกรรมเหล่านี้
-
ท่านั่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นวัยหนุ่มสาวหรือผู้สูงวัย คือท่านั่งไขว่ห้าง เป็นท่านั่งที่ทำให้ข้อเข่าบิดเคลื่อน กระดูกสันหลังคด เส้นเลือดถูกกดทับ เป็นท่านั่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง
ภาวะเข่าเสื่อมแบ่งเป็น 4 ระดับ โดยในระดับที่ 1 อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย ปวดเข่าตอนลุกยืน ปวดเวลาขึ้นลงบันได โดยยังไม่มีภาวะขาโก่ง หากปล่อยไว้โดยไม่ปรับพฤติกรรม อาจทำให้อาการเข่าเสื่อมลุกลามไปจนเกิดอาการขาโก่ง ปวดเข่า เข่าบวมแดง หลังคด กระดูกสันหลังเคลื่อน ซึ่งอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
หากมีอาการปวดเข่า เราสามารถช่วยพยุงข้อเข่าได้ด้วยการใช้ผ้ายืดพยุงเข่า เพื่อช่วยลดความปวด ป้องกันการเคลื่อนที่ของเข่า ป้องกันไม่ให้ข้อเข่าบาดเจ็บซ้ำ ช่วยกระชับกล้ามเนื้อรอบเข่า เพื่อพยุงให้ข้อเข่ามั่นคงขึ้น ควรเลือกผ้ายืดพยุงเข่าที่เหมาะสมกับขนาดของข้อเข่า ไม่หลวมเกินไปจนไม่สามารถพยุงข้อเข่าได้ และไม่คับแน่นจนขัดขวางการไหลเวียนเลือด
เพียงเท่านี้ เราก็จะสามารถถนอมข้อเข่าของเราให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น ชะลอความเสื่อมของข้อเข่าได้แล้ว
และถ้าหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัสทุกสาขาใกล้บ้าน หรือที่ แอปฯ ALL PharmaSee ดาวน์โหลดฟรีที่
Open this in UX Builder to add and edit content
เอกสารอ้างอิง
- โรงพยาบาลเวชธานี https://www.vejthani.com/2020/09/งอเข่า-มากกว่า-องศาบ่อย/