กินแบบ IF กับ Keto ต่างกันอย่างไร? แบบไหนที่เหมาะกับคุณ

กินแบบ IF กับ Keto ต่างกันอย่างไร

ในปัจจุบัน คนที่ต้องการลดน้ำหนักคงจะเคยได้ยินถึงการลดน้ำหนักแบบ IF กับ Keto ซึ่งน่าจะมีความสงสัยถึงความแตกต่างระหว่างการลดน้ำหนักทั้งสองชนิดนี้ บทความนี้จะเล่าถึงการลดน้ำหนักทั้งสองแบบ เพื่อที่จะเป็นข้อมูลให้คนที่ต้องการลดน้ำหนักนำไปใช้กันค่ะ

Intermittent Fasting (IF) 

IF หรือ Intermittent Fasting คือ การอดอาหารเป็นช่วงเวลา เป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่จะกำหนดเวลาของมื้ออาหาร โดยไม่มีการลดปริมาณอาหารหรือเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งการทำ IF มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีความแตกต่างกันที่รูปแบบของเวลาในการรับประทานอาหารและอดอาหาร ได้แก่

– 16/8 คือมีช่วงการอดอาหาร (Fasting) 16 ชั่วโมงและช่วงเวลารับประทานอาหาร (Feeding) 8 ชั่วโมง ซึ่งการทำ IF 16/8 เป็นที่นิยมเนื่องจากสามารถทำได้ต่อเนื่องและไม่ส่งผลกระทบต่อการลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันมาก

– 19/5 คือมีช่วงเวลาการอดอาหาร 19 ชั่วโมงและรับประทานอาหาร 5 ชั่วโมง

– Eat Stop Eat คือมีช่วงเวลาการอดอาหาร 24 ชั่วโมง โดยทำไม่เกิน 1-2 วันต่อสัปดาห์

– Warrior Diet ที่มีการอดอาหารคล้ายการฉันอาหารของพระสงฆ์หรือการถือศีลอด โดยสามารถเลือกการอดอาหารเวลาไหนก็ได้ นาน 19-20 ชั่วโมงต่อวัน

– 5:2 Diet คือการรับประทานอาหารตามปกติ 5 วันและมี 2 วันที่คุมปริมาณแคลอรีให้ไม่เกิน 500 kcal ต่อวัน

โดยในช่วงเวลารับประทานอาหาร สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่จะเน้นอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่พอเหมาะกับที่ร่างกายต้องการ ส่วนในช่วงอดอาหารสามารถรับประทานได้เฉพาะอาหารที่ไม่ให้พลังงาน เช่น น้ำเปล่า ชา กาแฟดำ


หลักการทำงานของ IF

การรับประทานรูปแบบ IF คือการทำให้ร่างกายมีช่วงรับประทานอาหารและสภาวะอดอาหารที่แยกออกจากกัน ซึ่งจะสัมพันธ์กับการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อเรารับประทานอาหารร่างกายจะย่อยคาร์โบไฮเดรตเป็นกลูโคสล่องลอยในกระแสเลือดเพื่อเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย และมีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพื่อกักเก็บน้ำตาลกลูโคสส่วนเกินจากอาหารในกระแสเลือดเข้าสู่ตับและกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานภายหลัง ในช่วงการอดอาหาร (Fasting) กลูโคสที่มีในกระแสเลือดได้ถูกใช้ไปหมดแล้ว ร่างกายมีการหลั่งอินซูลินลดลง จึงมีการกระตุ้นให้เกิดการสลายไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายมาใช้เป็นพลังงานทดแทน

นอกจากนั้น การกำหนดช่วงเวลาในการรับประทานอาหารที่ชัดเจนยังช่วยลดปริมาณการรับประทานของจุกจิก ต้นเหตุของการได้รับแคลอรีที่มากเกินไปจนเกิดการสะสมของไขมันในชั้นผิวหนัง


Ketogenic Diet (Keto)

การรับประทานแบบคีโต (Ketogenic Diet) คือ รูปแบบการรับประทานที่เน้นอาหารที่มีไขมันสูง และจำกัดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้เหลือเพียงวันละไม่เกิน 50 กรัม โดยสัดส่วนพลังงานของอาหารในจะอยู่ที่ 60-75% จากไขมัน 15-30% จากโปรตีนและ 5-10% จากคาร์โบไฮเดรต

IF

การรับประทาน Keto นั้นจะทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะอดอาหาร หรือที่เรียกว่าคีโตสิส (Ketosis) จึงมีการจึงไปสลายไขมันที่สะสมในร่างกายทำให้เกิดสารคีโตน (Ketone) ในตับเพื่อให้พลังงานกับร่างกายแทนที่สารกลูโคสซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายที่ได้จากอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต

ตัวอย่างอาหารสำหรับการรับประทานแบบคีโต ได้แก่

– อาหารจำพวกไขมันและน้ำมัน โดยเลือกรับรับประทานไขมันจากธรรมชาติต่างชนิดควบคู่กัน ได้แก่ ไขมันจากเนื้อสัตว์ จากพืช ตัวอย่างอาหาร เช่น อาหารทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เนย ชีส กากหมู แคปหมู เป็นต้น

– อาหารจำพวกโปรตีน เช่น สเต็ก รวมถึงส่วนที่ติดมัน หมูทอด ขาหมู แต่ต้องเลือกอาหารที่ไม่ได้ใส่น้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรตอื่นๆ เพิ่มเข้าไป

– อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล สามารถรับประทานได้ไม่เกิน 50 กรัมต่อวัน (ข้าวสวย 1 ทัพพีมีปริมาณ 60 กรัม, น้ำตาล 1 ช้อนชามีปริมาณ 4 กรัม)

– ผักประเภทผักใบ หลีกเลี่ยงผักหัว เช่น แครอท มันสำปะหลัง มันฝรั่ง ฟักทอง เนื่องมากมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง

– หลีกเลี่ยงการทานผลไม้เนื่องจากมีน้ำตาลฟรุกโตสที่ให้ความหวาน สามารถทานเบอร์รี่ เนื้อมะพร้าว อะโวคาโดได้แต่ควรทานแบบจำกัด

– ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส วิปครีม เนื่องจากทำมาจากไขมันที่มาจากนม แต่ห้ามดื่มนมเพราะในนมมีน้ำตาลแลคโตส

– น้ำเปล่าเป็นเครื่องดื่มที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถดื่มน้ำมะนาว กาแฟหรือชาดำ หรือใส่ครีม ที่ใช้หญ้าหวานหรือสตีเวีย (Stevia) เป็นสารให้ความหวาน และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์


อาการข้างเคียงจากการรับประทานแบบ IF และคีโต 

IF


การรับประทานทั้งในรูปแบบ IF และคีโต ต่างมีผลข้างเคียงและเหมาะกับบุคคลบางประเภท ดังนั้น จึงควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด และถ้าผู้ที่สนใจลดน้ำหนักด้วยสองวิธีการดังกล่าวมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องและมีความปลอดภัยต่อสุขภาพสูงสุด


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา