สุขภาพแต่ละช่วงวัย รู้หรือไม่ ถึงจะไม่อ้วน แต่ไขมันในเลือดสูงได้ Posted on 22/02/202218/10/2022 by ภญ.รุ่งนภา ดวงเอ้ย 22 ก.พ. รู้หรือไม่ว่า ถึงแม้จะไม่ได้มีรูปร่างอ้วน แต่ยังสามารถมี ไขมันในเลือดสูง ได้ แต่ไขมันในเลือดสูง เกิดขึ้นได้อย่างไรวันนี้เอ็กซ์ต้ามีคำตอบมาฝากทุกท่านค่ะ สาเหตุของ ไขมันในเลือดสูง มีดังนี้ • พันธุกรรม พ่อหรือแม่ หรือคนในครอบครัวมีประวัติไขมันในเลือดสูง • มีโรคบางชนิด เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคตับ หรือโรคเบาหวาน • มีรูปร่างอ้วน หรือมีน้ำหนักเกิน • ชอบทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ของทอด หรือเนื้อสัตว์ติดมัน • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นประจำ หรือสูบบุหรี่จัด • ไม่ชอบออกกำลังกาย เมื่อไขมันในเลือดสูง ระดับคลอเลสเตอรอลหรือไตรกลีเซอร์ไรด์ที่สูงเกินค่าปกติ จะไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดการอักเสบและภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งหากเกิดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้เกิดการตีบ อุดตัน เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมอง เกิดโรคหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจวายเฉียบพลัน ได้นั่นเอง ถึงจะไม่อ้วน…แต่ทำไมไขมันในเลือดถึงสูงมาก “ความอ้วน” เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมามาก โดยหนึ่งในนั้นคือ “ไขมันในเลือดสูง” แต่ความเป็นจริงแล้ว “ไขมันในเลือด” เป็นส่วนของไขมันที่ละลายอยู่ในกระแสเลือด ต่างกับ “ไขมันที่สะสมใต้ผิวหนัง” ที่ทำให้เกิดส่วนเกิน เซลลูไลท์ ดังนั้น คนผอมก็สามารถมีภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ในทางตรงกันข้ามคนอ้วนก็อาจจะไม่ได้มีภาวะไขมันในเลือดสูงเสมอไปค่ะ หาก ไขมันในเลือดสูง ต้องดูแลตนเองอย่างไร เราสามารถปรับการรับประทาน เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไขมันในเลือดสูง หรือหากใครมีค่าไขมันในเลือดสูงเกินค่าปกติ การปรับการรับประทานก็เป็นตัวช่วยที่จะสามารถลดค่าไขมันในเลือดได้ค่ะ โดยมีวิธีดังนี้ 1. หลีกเลี่ยงอาหารพวกเนื้อสัตว์ที่ติดมัน เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ผลิตภัณฑ์จากนม ขนมหวานที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล และกะทิหรือมะพร้าว ขนมที่มีไขมันแฝงอยู่ เช่น เบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว เลือกรับประทานเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้ง ผักสด และผลไม้ไม่หวาน เลือกดื่มนมพร่องมันเนยหรือนมขาดมันเนย แทนนมที่มีไขมันเต็มส่วน 2. ปรุงอาหารโดยใช้ต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนการทอด หรือผัด หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันจากสัตว์ เลือกใช้น้ำมันพืชปรุงอาหารแทน และ เพิ่มการออกกำลังกาย โดยออกกำลังกายอย่างพอเหมาะและสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดระดับ LDL โคเลสเตอรอล และเพิ่มระดับ HDL โคเลสเตอรอล(ไขมันดี) อีกด้วย หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง ไขมันในเลือดสูง หรือเรื่องสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ สินค้าที่เกี่ยวข้อง Blackmores ไบโอซีอะซีโรลาพลัส 1500 มก. 40 เม็ด ฿ 310 บีไชน์ เนเจอร์ซี อะเซโรลา เชอร์รี่ 30 เม็ด ฿ 249 Vistra ซิงค์ 7 แคปซูล (แพ็ก 6 ซอง) ฿ 300 TUU ตูว์ อิม ยู ซอย ไอโซเลท ซอย โปรตีน แพ็ก 6 ซอง ฿ 199 แอลกอฮอล์ แฮนด์ เจล เอ็กซ์ต้า ขนาด 380 กรัม (แพ็ก 4 ขวด) ฿ 636 บทความที่เกี่ยวข้อง ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง เที่ยวภาคไหน ต้ 22 พ.ค. ข้อสงสัยโควิด สิ่งที่ควรทำและควรหลีกเลี่ยง เมื่อเป็น Long COVID Long COVID อากา 16 พ.ย. ข้อสงสัยโควิด อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด ไอค๊อกไอแค๊ก นี 30 ก.ย. ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid อาหารทางการแพทย 27 ก.ค. ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน สิ่งแรกที่ควรระ 01 มิ.ย. ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล วันที่ 31 พฤษภา 31 พ.ค. ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย โควิด-19 ยังคงระบาด อย่านิ่งนอนใจ สงสัยเมื่อไหร่ ตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจด้วยตนเอง Antigen Test Kit ถึงแม้เราจะอยู่ 12 ม.ค. ข้อสงสัยโควิด ปวดหัว อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นี่เราเป็นไข้ หรือ ติดเชื้อ โอไมครอน ? โอไมครอน เชื้อไ 04 ม.ค. ภญ.รุ่งนภา ดวงเอ้ย อุจจาระร่วง ภัยร้ายหน้าร้อน ที่ไม่ควรมองข้าม? ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 กับ 2 กลุ่มโรค และ 5 เรื่อง ที่คุณอาจยังไม่รู้