ท้องอืด วิธีแก้ เพื่อช่วยลดความรู้สึกไม่สบายตัวมีหลากหลายวิธีในการบรรเทา สาเหตุเกิดจากแก๊สในระบบย่อยอาหารซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดท้องและท้องอืด จากการวิจัยพบว่าผู้คนมีอาการท้องอืดระหว่าง 13 ถึง 21 ครั้งต่อวัน อ้างอิงจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (The National Institutes of Health) โดยการปรับการทานอาหาร และการออกกำลังกายสามารถช่วยลดความรู้สึกไม่สบายตัวเมื่อมีลมในท้องได้
ท้องอืดมีลักษณะอย่างไร
อาการท้องอืด (Flatulence) ตามภาษาทางการแพทย์หมายถึง การปล่อยแก๊สออกจากระบบย่อยอาหารผ่านทางทวารหนัก หรือการผายลม โดยเกิดขึ้นเมื่อแก๊สสะสมภายในระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้หากมีอาการท้องอืดที่รุนแรงและต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิต เช่น ทำให้เกิดอาการปวด เป็นตะคริว และอาการไม่สบายอื่น ๆ
สาเหตุที่ทำให้มีลมในท้อง หรือ ท้องอืด
ท้องอืด อาจเกิดจากการกลืนอากาศเข้าไปมากกว่าปกติ เมื่อกลืนอาหาร น้ำ หรือน้ำลาย ยังเป็นการกลืนอากาศบางส่วนเข้าไปด้วย ซึ่งลมเหล่านั้นจะสะสมอยู่ในระบบย่อยอาหาร รวมถึงการรับประทานอาหารที่ย่อยยาก นอกจากนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการย่อยอาหาร เช่น โรคกระเพาะ โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) เป็นต้น โดยจะทำให้ร่างกายจำเป็นต้องขับลมนั้นโดยการผายลม หรือ เรอ
บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส มีข้อมูลเกี่ยวกับ ท้องอืด วิธีแก้ เมื่อมีลมในท้อง อาหารไม่ย่อย ต้องทำอย่างไร มาแชร์กัน
1. ท้องอืด วิธีแก้โดยการทานอาหารให้ช้าลง
อากาศหรือลมส่วนใหญ่จากถูกกลืนผ่านปากเข้าไปยังร่างกาย อาจจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่สามารถลดปริมาณการกลืนลมเข้าไปได้ โดยการรับประทานอาหารให้ช้าลง และไม่ควรทานอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการทานอาหารระหว่างเดินทาง หรือขณะทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น เดิน ขับรถ เป็นต้น
2. เมื่อท้องอืด วิธีแก้คือลดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส
อาหารบางชนิดผลิตแก๊สมากกว่าอาหารอื่น ๆ เช่น กลุ่มคาร์โบไฮเดรตบางประเภท ซึ่งคาร์โบไฮเดรตเหล่านี้ถูกสะสมอยู่ในลำไส้ใหญ่และมีเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาทางเดินอาหารได้
อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ผลิตแก๊สที่ควรเลี่ยง มีดังนี้
- กลุ่มน้ำตาลเชิงซ้อน (Complex Sugars) เช่น ถั่ว กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง โฮลเกรน เป็นต้น
- กลุ่มฟรักโทส (Fructose) เช่น หัวหอม ลูกแพร์ อาร์ติโชค (Artichoke) น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เป็นต้น
- กลุ่มแแล็กโทส (Lactose) เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม รวมทั้ง ชีส ไอศกรีม เป็นต้น
- กลุ่มไฟเบอร์ที่ไม่ละลายน้ำ (Insoluble Fiber) เช่น รำข้าวโอ๊ต ถั่วลันเตา และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น
- กลุ่มแป้ง (Starches) เช่น มันฝรั่ง พาสต้า ข้าวสาลี และข้าวโพด เป็นต้น
3. วิธีแก้อาการท้องอืดด้วยโพรไบโอติกส์ (Probiotics)
ระบบทางเดินอาหารในร่างกายจะประกอบไปด้วยแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งโพรไบโอติกส์ จัดเป็นกลุ่มแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ จึงสามารถช่วยในการย่อยอาหาร ปรับสมดุลลำไส้ ด้วยการเข้าไปลดปริมาณจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี และกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร โดยการสร้างเอนไซม์หลากหลายชนิด ที่ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเสีย บรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน โดยอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotics) เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ แตงกวาดอง มิโซะ ชาหมัก เป็นต้น
4. อาการท้องอืด มีวิธีแก้โดยการเพิ่มการออกกำลังกาย
การขยับร่างกายสามารถช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติได้ โดยอาจเดินช้า ๆ หลังจากการรับประทานอาหาร เพื่อลดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย หรือออกกำลังกายในระดับปานกลาง 4 – 5 วันต่อสัปดาห์ เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิก จะทำให้กระเพาะ ลำไส้ เคลื่อนตัวได้ดี และลดอาการท้องอืด จุก เสียด แน่นท้อง ทั้งนี้ไม่ควรเดิน หรือ ออกกำลังกายหลังอาหารทันที เนื่องจากการออกกำลังกายจำเป็นต้องใช้พลังงานมาก หากเป็นช่วงเวลาที่กระเพาะยังทำการย่อยอาหารอยู่อาจส่งผลไม่ดีต่อร่างกายได้ ควรพักและออกกำลังกายหลังจากทานอาหาร มื้อเล็กประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง หรือ หลังอาหารว่าง 30 – 60 นาที
5. การรักษาอาการท้องผูก เป็นวิธีแก้ ท้องอืด
หากมีอาการท้องผูก (Constipation) หรือ พบว่าตนเองถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ อาจส่งผลให้เกิดลมในท้องได้ เนื่องจากอุจจาระมีแบคทีเรียจำนวนมาก หากตกค้างอยู่ในลำไส้เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการสะสมแก๊สจำนวนมาก และรู้สึกไม่สบายท้องอีกด้วย
วิธีการรักษาอาการท้องผูกให้ดีขึ้น
- ดื่มน้ำปริมาณ 1.5 – 2 ลิตรทุกวัน จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำและช่วยแก้อาการท้องผูก เนื่องจากอุจจาระจะมีความชุ่มชื้นขึ้น
- ทานอาหารที่มีปริมาณเส้นใย (Fiber) ประมาณ 20 – 35 กรัมต่อวัน โดยเพิ่มเส้นใยอาหารประเภทที่ละลายน้ำได้ (Soluble Fiber) เช่น เส้นใยจากผัก ผลไม้ ซึ่งดีกว่าประเภทที่ไม่ละลายน้ำ (Insoluble Fiber) ซึ่งเป็นเส้นใยจากเมล็ดธัญพืช
- การฝึกสุขนิสัยการขับถ่าย ควรถ่ายอุจจาระเมื่อเริ่มรู้สึกอยากขับถ่ายโดยไม่เมินเฉย เพราะหากรีรอ สัญญาณในการขับถ่ายนั้นจะอ่อนลงไปเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้เกิดการขับถ่ายที่ผิดปกติจากเดิมได้
- การรักษาด้วยการใช้ยา สามารถใช้ยาระบายได้เป็นครั้งคราว ซึ่งยาระบายมีหลายชนิดตามกลไกการออกฤทธิ์ ทั้งนี้ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของยา ตามคำสั่งของแพทย์หรือเภสัชกร และไม่ควรใช้ยาระบายบ่อย ๆ เพื่อลดโอกาสในการติดยาระบาย (ดื้อยาระบาย) หากต้องใช้ยาระบายติดต่อกันมากกว่า 1 สัปดาห์ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์
อาการท้องอืดแบบไหนที่พบควรแพทย์
หากมีอาการท้องอืดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือหากพบอาการต่อไปนี้ร่วมกับอาการท้องอืด แนะนำให้ไปพบแพทย์เนื่องจากอาการบางอย่างอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงอื่น ๆ
- ท้องบวม
- อาการปวดท้อง
- มีลมในท้องตลอดเวลาและรุนแรง
- อาเจียน
- ท้องเสีย
- ท้องผูก
- การลดน้ำหนักโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
ที่มา:
Everything You Need to Know About Flatulence จาก Healthline
Flatulence จาก NHS Inform
10 Tips to Help You Stop Farting จาก Healthline
How Long Should You Wait to Exercise After Eating? จาก GoodRx
พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) VS โพรไบโอติกส์ (Probiotics) จาก สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อน(1) จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาวะท้องผูก ใครว่าแก้ไม่ได้ ? จาก ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่