เชื่อว่าผู้สูงวัยทุกคน อยากเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ไม่อยากซึมเซา อ่อนเพลีย ติดเตียง ภาวะโภชนาการเป็นสิ่งสำคัญมาก
ส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงวัยอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันกระดูกพรุน การป้องกันกล้ามเนื้อลีบ และการทำงานของสมองที่ยังมีประสิทธิภาพ ล้วนแล้วแต่ทำให้ผู้สูงวัยมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี
การป้องกันกระดูกพรุน
ผู้สูงวัยที่กระดูกพรุน จะมีกระดูกที่เปราะ หักง่าย หากล้มจะรักษานาน โอกาสหายยาก และเมื่อเคยล้มแล้วมักล้มซ้ำ พฤติกรรมและสารอาหารที่สามารถป้องกันกระดูกพรุนหรือชะลอกระดูกพรุนได้แก่
การขยับร่างกาย ออกกำลังกายเบาๆ สม่ำเสมอ และสารอาหารที่ครบ 5 หมู่
ซึ่งต้องเน้นว่าเป็นอาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดี และวิตามินซีเพียงพอ สำหรับแคลเซียมนั้น หากได้รับปริมาณมากเกินไป ร่างกายสามารถขับออกได้ แต่การเสริมวิตามินดีและวิตามินซี ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร
ผลิตภัณฑ์แคลเซียมมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบเม็ดฟู่ แบบเม็ด แบบผสมวิตามินอื่น เกลือของแคลเซียมก็มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะมีผลต่อการดูดซึมที่แตกต่างกัน
ดังนั้นการดูที่ปริมาณแคลเซียมเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แต่ต้องรู้จักเกลือของแคลเซียมด้วย ว่าเป็นแคลเซียมที่เป็นเกลือชนิดใด เภสัชกรประจำร้านขายยาจะสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เหมาะสมที่สุดกับแต่ละบุคคลได้
การป้องกันกล้ามเนื้อลีบ มวลกล้ามเนื้อลดน้อยลง
โดยทั่วไปมวลกล้ามเนื้อของคนเราจะน้อยลงหลังอายุ 40 ปี โดยจะลดลง 1%-2% ต่อปี ดูเหมือนจะเป็นตัวเลขที่น้อย ค่อยๆ เป็นไป แต่เมื่อผ่านไป 10 ปี จะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง เช่น
-
ลุกนั่งไม่คล่องแคล่ว
-
การทรงตัวไม่ดีเหมือนเดิม
-
น้ำหนักลดเองโดยไม่ได้ตั้งใจลด
-
เหนื่อยง่าย โดยภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย พบได้มากถึง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุ
การป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อทำได้โดยการออกกำลังกาย และการได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ
ความเชื่อที่ผิด คือ ผู้สูงอายุต้องการโปรตีนน้อยกว่าวัยเด็กและหนุ่มสาว
แท้จริงแล้วผู้สูงอายุทั่วไปที่ไม่มีโรคประจำตัว ต้องการโปรตีนมากกว่าเด็กและหนุ่มสาวด้วยซ้ำ และกรดอะมิโนบางชนิดต้องระมัดระวังไม่ให้ขาด เช่น ลิวซีน
แหล่งอาหารประเภทโปรตีนที่ดีมากได้แก่เนื้อปลา ไข่ นม ถั่ว
ในกรณีผู้สูงวัยที่รับประทานได้น้อย หรือมีปัญหาการย่อยอาหาร ควรได้รับโปรตีนเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ที่มีเวย์โปรตีน
เนื่องจากจะสามารถดูดซึมได้ดี มีกรดอะมิโนที่จำเป็น โดยสามารถสอบถามชนิดของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมได้จากเภสัชกรประจำร้านขายยา เนื่องจากเวย์โปรตีนต้องระมัดระวังการใช้ในผู้ที่มีโรคประจำตัวบางโรคเช่นโรคไต
สูงวัย สมองไว
ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย เป็นภาวะที่กระทบกับชีวิตประจำวันของทั้งผู้สูงวัยและผู้ดูแล สารอาหารที่ขาดไม่ได้โดยเด็ดขาดสำหรับ
อาหารเสริม สำหรับ ผู้สูงวัย มีดังต่อไปนี้
วิตามินบี
ไม่น่าเชื่อว่าคนไทยจำนวนมากมีภาวะขาดวิตามินบี วิตามินบีพบมากในธัญพืชเต็มเม็ด ถั่ว เนื้อสัตว์ วิตามินบีมีหลายชนิด ได้แก่ วิตามินบี 1,2,6,12, โฟเลต วิตามินบีมีความสำคัญอย่างมากต่อระบบประสาทส่วนกลาง ผู้สูงอายุจะมีการดูดซึมวิตามินบี 12 ได้น้อยลง ถึงแม้จะรับประทานอาหารครบถ้วนก็ตาม บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องได้รับวิตามินบีเสริม
โคลีน
เป็นสารอาหารที่ใช้ในการสร้างสารสื่อประสาทชื่อ อะเซทิลโคลีน ร่างกายเราจะสังเคราะห์โคลีนได้ต้องได้รับสารอาหารที่ชื่อว่า เลซิติน ซึ่งพบมากในไข่ไก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพดเหลือง โดยที่อะเซทิลโคลีนมีบทบาทเกี่ยวกับการรับรสชาติ การรับความรู้สึกเจ็บปวด ร้อนหนาว การนอน การฝัน และอาการซึมเศร้า เลซิตินจึงมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของสมองเป็นอย่างมาก ผู้สูงวัยบางท่านที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ครบถ้วน สามารถรับประทานเลซิตินในรูปแบบเม็ดเสริมได้ ทั้งนี้ควรปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาเพื่อความเหมาะสมในการใช้อาหารเสริมสำหรับแต่ละบุคคลได้
การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ อาหารเสริม สำหรับ ผู้สูงวัย ควรมีความรู้ถึงคุณและโทษ และควรได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรประจำร้านขายยา เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดจากการรับประทานอาหารเสริมอย่างไม่ถูกต้อง
และถ้าหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัสทุกสาขาใกล้บ้าน หรือที่ แอปฯ ALL PharmaSee ดาวน์โหลดฟรีที่
Open this in UX Builder to add and edit content
เอกสารอ้างอิง
- https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/diseases-and-treatments/osteoporosis-bone-fracture-be-proactive-prevent-get-treated-immediately
- https://il.mahidol.ac.th/e-media/nervous/ch1/chapter1/linkhtml
- มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ https://thaitgri.org/?p=3900