อาการจากร่างกายสาว ๆ ที่บ่งชี้ว่าคุณอาจมี “ภาวะฮอร์โมนขาดความสมดุล”

ฮอร์โมนขาดความสมดุล

ฮอร์โมนขาดความสมดุล คืออะไร? อย่างแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ฮอร์โมน (Hormones) คือ สารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ฮอร์โมนมีทั้งในเพศหญิงและชาย แต่จะมีฮอร์โมนที่ต่างกันและทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป ปริมาณและการทำหน้าที่ของฮอร์โมนในแต่ละช่วงอายุก็ยังแตกต่างกันไป ฮอร์โมนเพศหญิง ที่สำคัญได้แก่ “ฮอร์โมนเอสโตรเจน” และ “ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน”


แต่ ฮอร์โมนขาดความสมดุล จะเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอะไรนั้น วันนี้มาหาคำตอบกับเอ็กซ์ต้ากันค่ะ

ชนิดของฮอร์โมน

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน - ฮอร์โมนเพศหญิง ผลิตจากรังไข่ และทำให้ลักษณะร่างกายของผู้หญิงมีการเติบโต มีความเป็นผู้หญิงมากขึ้น เช่น มีเต้านม สะโพกผาย มีผิวดีขึ้น เกี่ยวเนื่องกับการมีประจำเดือน การผลิตไข่ การตกไข่ และช่วยในเรื่องการทำงานของกล้ามเนื้อและกระดูก

  • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน – เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ มีส่วนสำคัญในการควบคุมภาวะไข่ตก และการมีประจำเดือน ฮอร์โมนนี้มีความสำคัญอย่างมากกับการตั้งครรภ์ในระยะแรก


สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ ฮอร์โมนขาดความสมดุล

  • อายุ ช่วงอายุที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงอายุ

  • ความเครียด ความเครียดสะสม ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนผิดปกติได้

  • การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม เช่น ติดทานหวาน ทานชา กาแฟ ดื่มแอลกอฮอล์

  • เคมีปนเปื้อนเข้าร่างกาย มักพบได้ในอาหาร เช่น ยาฆ่าแมลงในผักผลไม้ เป็นต้น

  • ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) โดยปกติต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนออกมาเพื่อควบคุมการทำงานของหัวใจ สมอง และกล้ามเนื้อ ทำให้คุณมีพลังงานเพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

  • ยาที่ใช้ ยาบางชนิดส่งผลต่อความผิดปกติของฮอร์โมน


อาการที่เกิดขึ้นเมื่อมี ภาวะฮอร์โมนขาดความสมดุล

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ

  • ช่องคลอดแห้ง

  • นอนไม่ค่อยหลับ นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

  • เหนื่อยและอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น

  • เป็นสิวเยอะ

  • ภาวะความเสื่อมของผิว ผมและเล็บ


ในทางการแพทย์แผนไทยมีพืชและสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องการดูแลสุขภาพผู้หญิง เพื่อช่วยลดปัญหาเรื่องการขาดฮอร์โมน ได้แก่

  • เต้าหู้เหลือง กวาวเครือขาว เนื่องจากพืชที่มีไฟโตรเอสโตรเจน ซึ่งคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน และสารไอโซฟลาโวน (isoflavone)  จะช่วยทำให้อาการร้อนวูบวาบลดลง

  • ตังกุย หรือโสมตังกุย เป็นสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณบำรุงเลือดมีสารคูมารินที่เป็นไฟโตเอสโตรเจนที่ช่วยเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดง ทำให้มดลูกบีบตัวตามปกติและป้องกันประจำเดือนมาไม่ปกติ กระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกให้แข็งแรง

  • ยอดใบขี้เหล็ก ยอดสะเดา ผักคะน้า ผักแพว ตำลึง เป็นสมุนไพรที่มีแคลเซียมสูง ช่วยลดความเสี่ยงเรื่องกระดูกบาง

  • ฝาง มีสรรพคุณ บำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือดให้สะอาด ขับเลือดเสียที่ตกค้างในร่างกาย กระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดช่วยให้ความดันเลือดเป็นปกติ


การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ฮอร์โมนความเครียดถูกหลั่งออกมามากเกินไปและไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้ เช่น วิ่งเหยาะ ๆ เต้นแอโรบิก โยคะ ไทเก๊ก เป็นต้น ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 30 นาที

  • ควบคุมน้ำหนักให้พอดีเกณฑ์ ในผู้ที่มีน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศหญิง หรือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผิดเพี้ยน ทำให้รังไข่ทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ

  • ปรับโภชนาการอาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์ ควรเลี่ยงอาหารรสหวานและไขมันสูง

 

ฮอร์โมนขาดความสมดุล

 


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องใยอาหาร หรือสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  • โรงพยาบาลสมิติเวช (no date) Samitivej Hospital in Bangkok, Thailand. Available at: https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/female-sex-hormones (Accessed: December 9, 2022). (Accessed: January 20, 2023).
  • Hormone imbalance and hormone level testing (2022) Testing.com. Available at: https://www.healthtestingcenters.com/hormone-imbalance-and-hormone-level-testing/ (Accessed: January 20, 2023).

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา