ในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ที่ยังมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก
ทำให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอต่อการรักษาคนไข้ที่ติดเชื้อทั้งหมด ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อรายใหม่เข้าถึงการรักษาช้าลง จึงเกิดแนวคิด Home Isolation หรือการดูแลตนเองจากที่บ้าน ซึ่งสามารถทำได้ในผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการ รวมถึงผู้ป่วยที่รักษาที่โรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 7-10 วัน ซึ่งผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มจะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี พักอาศัยอยู่คนเดียว หรืออยู่ร่วมกับคนอื่นไม่เกิน 1 คน และไม่เป็นโรคที่เสี่ยงทำให้อาการแย่ลง ยกตัวอย่างเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคเบาหวาน
ทั้งนี้การพิจารณาขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งการกักตัวเพื่อพักรักษาตัวที่บ้านต้องเป็นความสมัครใจของผู้ป่วยเองด้วย ข้อดีของการกักตัวที่บ้านคือจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้เร็วขึ้น และ การอยู่บ้านจะช่วยลดความเครียด ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น ทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้ไวขึ้นนั่นเอง
🔹 ขั้นตอนในการเข้าสู่ระบบการแยกกักตัวที่บ้าน เมื่อตรวจพบเชื้อซึ่งรวมถึงการตรวจด้วย Antigen Test Kit ที่ผ่านการรับรองจากอย.ให้ผลเป็นบวก ให้ทำการลงทะเบียนเพื่อเป็นคนไข้ในระบบด้วยการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ของสปสช. หรือโทรสายด่วนสปสช. 1330 ต่อ 14 ซึ่งหลังจากที่ลงทะเบียนแล้วนั้นจะมีเจ้าหน้าติดต่อกลับ และจะได้รับที่ปรอทวัดไข้เพื่อวัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว รวมถึงยาในการรักษา ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามอาการจากบุคลากรทางการแพทย์ทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
นอกจากที่จะได้รับอุปกรณ์ที่จำเป็นแล้ว สิ่งที่เราจะต้องเตรียมเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นมีรายการดังนี้
-
เจลล้างมือสำหรับล้างมืออย่างสม่ำเสมอ
-
แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อสำหรับเช็ดหลังสัมผัสสิ่งของต่างๆ
-
หน้ากากอนามัยเพื่อสวมตลอดเวลาที่ไม่อยู่คนเดียว
-
ถุงสำหรับขยะติดเชื้อ
-
น้ำยาฟอกขาวสำหรับทำความสะอาด
และการเตรียมยารักษาโรคที่รับประทานเป็นประจำก็เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อการรักษาอย่างต่อ ดังนั้น ควรที่จะจัดเตรียมให้เพียงพอในช่วงที่การกักตัวที่บ้าน
🔹 ข้อปฏิบัติของผู้ป่วยโควิดที่กักตัวที่บ้าน
-
ใช้ปรอทวัดไข้ วัดอุณหภูมิทุกวัน หากมีไข้เกิน37.5 องศาเซลเซียส ควรรับประทานยาลดไข้ และพักผ่อนมากๆหากไม่ดีขึ้นให้รีบติดต่อแพทย์ ควรบันทึกการวัดค่าเพื่อรายงานต่อบุคลากรทางการแพทย์ในแต่ละวัน
-
วัดค่าออกซิเจนด้วยการใช้เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนปลายนิ้ว ค่าปกติไม่ควรต่ำกว่า96% หากต่ำกว่าเกณฑ์ให้รีบติดต่อแพทย์และควรบันทึกการวัดค่าเพื่อรายงานต่อบุคลากรทางการแพทย์ในแต่ละวัน
-
ห้ามผู้อื่นมาเยี่ยมและแยกตัวจากบุคคลอื่นในครอบครัว แยกใช้ห้องน้ำจากผู้อื่น
-
ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากช่วงที่รับประทานอาหาร ต้องถอดหน้ากากอนามัยอาจเกิดการแพร่เชื้อได้รวมถึงไม่ใช่ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
-
ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อทำให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติไวที่สุด
-
หมั่นเปิดหน้าต่างเพื่อให้มีช่องทางลมเข้าออกลดการสะสมเชื้อ
-
ล้างมือเป็นประจำอย่างถูกวิธีอย่างน้อย30 วินาที โดยเฉพาะหลังการไอ จาม และขับถ่าย
-
ผู้ป่วยควรหมั่นทำความสะอาดของที่มีการสัมผัสร่วมกันหลังมีการหยิบจับ เช่น ลูกบิดประตูสวิตช์ไฟ เพื่อไม่ให้คนอื่นที่มาใช้ต่อเสี่ยงรับเชื้อ
-
สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่มีบุคคลอื่นอยู่ร่วมด้วย
-
ซักผ้าด้วยสบู่หรือผงซักฟอกในน้ำอุณหภูมิ60-90 องศาเซลเซียส
ทั้งนี้ให้หมั่นสังเกตตนเองหากมีอาการไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส วัดค่าออกซิเจนปลายนิ้วได้ต่ำกว่า 96% มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจติดขัด นอนราบไม่ได้ ซึมลง ให้รีบติดต่อแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยในระบบทันที
รู้อย่างนี้แล้ว หากต้องทำงานที่บ้านไปอีกนาน ควรลงทุนซื้อโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับการทำงาน เพื่อสุขภาพของเราเองนะคะ แต่หากเกิดอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อจากการทำงานบนเตียง หรือมีภาวะนอนไม่หลับจากการทำงานบนเตียง สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ
Open this in UX Builder to add and edit content
เอกสารอ้างอิง
Accordion Panel
1.Thaihealth.or.th. 2021. คู่มือ การแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) – Thaihealth.or.th | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).