สร้างภูมิคุ้มกัน ให้ ลูกน้อย ห่างไกลโรคโควิด-19 

สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย เรียกได้ว่าแทบจะเป็นโควิดสายพันธุ์ “โอไมครอน” ไปแล้ว โดยสิ่งที่กำลังน่าเป็นกังวล คือการพบว่าเด็กติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากยังไม่ได้รับวัคซีน

โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีรายงานก่อนหน้านี้จากประเทศแอฟริกาใต้ว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาจมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยจาก “โอไมครอน” รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเด็กเล็กมากกว่าตัวแปรอื่นๆ ซึ่งจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน พบว่ากลุ่มเด็กเล็กจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงอีกด้วย

ดังนั้นการ สร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับ ลูกน้อย เด็กเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะการได้รับโภชนาการที่ดี ได้รับพลังงาน สารอาหารหลักทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และวิตามิน เกลือแร่ให้ครบถ้วน

โดยสารอาหารตัวเด่นๆ ที่บทบาทต่อภูมิต้านทาน มีดังนี้

  1. วิตามินซี ช่วยการทำงานของเม็ดเลือดขาว และช่วยกระบวนการทำลายเชื้อโรค รับประทานผักผลไม้ต่อวันให้ได้อย่างน้อย 400 กรัมและเลือกผักผลไม้ที่เป็นแหล่งวิตามินซี


  2. วิตามินเอช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยแหล่งอาหารที่ดีที่ร่างกายสามารถดูดซึมและใช้ประโยชน์ได้สูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม และแหล่งอาหารรองลงมาจะได้จากพืช ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้สีเหลืองและส้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง แครอท ฟักทอง มันเทศสีเหลือง มะละกอสุก


  3. สังกะสี มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และแบ่งเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งควบคุมการทำงานของเอนไซม์ ที่เป็นกลไกหลักในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งแหล่งอาหารที่ดีเมื่อพิจารณาจากปริมาณและการดูดซึมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ เนื้อสัตว์และเครื่องใน หอยนางรม สัตว์ปีกและปลา และที่รองลงมา ได้แก่ ไข่ นม


  4. โปรตีน ช่วยสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันและสารภูมิคุ้มกันต่างๆ ซึ่งโปรตีนที่มีคุณภาพดีมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ครบถ้วน สามารถได้รับจากเนื้อสัตว์ ไข่ นม (พร่องหรือขาดมันเนย) ชีส (เลือกชนิดที่ไขมันต่ำ) เต้าหู้ ถั่วเหลือง สำหรับโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วต่างๆ เมล็ดพืชต่างๆ สามารถเลือกรับประทานควบคู่กับแหล่งอาหารจากพืชอื่นๆ เพื่อเติมเต็มในส่วนของกรดอะมิโนจำเป็นที่โปรตีนจากพืชชนิดนั้นๆ ไม่ครบถ้วน เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง (ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ) คู่กับถั่วเปลือกแข็งหรือเมล็ดพืช


  5. จุลินทรีย์สุขภาพ (โพรไบโอติกส์) และอาหารสำหรับจุลินทรีย์สุขภาพ (พรีไบโอติกส์) ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย โดยแหล่งอาหารที่ดีที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ ได้แก่ โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวที่ระบุไว้ว่ามีการเติมโพรไบโอติกส์ แต่ควรเลือกที่น้ำตาลต่ำ สำหรับอาหารสำหรับจุลินทรีย์สุขภาพ ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในแหล่งอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ข้าวโอ๊ต ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น


นอกจากนี้ให้ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันอย่างเคร่งครัด โดยที่สำคัญคือการล้างมือและการใส่หน้ากากอนามัย ซึ่ง”การล้างมือ” ซึ่งอาจทำได้ 2 วิธีคือ
ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ก็สามารถฆ่าเชื้อไวรัสตัวนี้ได้ แต่จะต้องล้างเป็นเวลานานอย่างน้อย 20 วินาทีหรือให้เด็กๆ ร้องเพลง happy birthday 2 รอบก็จะครบ 20 วินาทีพอดี
ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล  ซึ่งจากคำแนะนำของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค ประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำว่าแอลกอฮอล์เจลควรมีความเข้มข้นอย่างน้อย 60 % โดยเน้นการล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากที่มีการไอ จาม ก่อนการรับประทานอาหาร หลังจากการเข้าห้องน้ำ หลังจากที่มีการสัมผัสกับผู้เจ็บป่วย หรือผู้ที่มีอาการของระบบทางเดินหายใจ ภายหลังจากการสัมผัสสัตว์หรือซากสัตว์ และที่สำคัญภายหลังที่กลับมาจากที่สาธารณะหรือที่ชุมชนรวมเมื่อถึงที่บ้าน ควรจะรีบล้างมือทันที


นอกจากนี้เด็กๆ ควรได้รับการสอนวิธีใช้หน้ากากให้ถูกต้อง นั่นคือต้องล้างมือให้สะอาดก่อนใส่และหลังถอดหน้ากาก ไม่จับ สัมผัสบริเวณพื้นผิวด้านหน้าของหน้ากากอนามัยในขณะที่ใส่ เวลาถอดจะต้องจับที่หูหน้ากากทั้งสองข้าง ในกรณีใช้หน้ากากผ้าควรซักทำความสะอาดด้วยผงซักฟอก น้ำยาซักผ้า หรือน้ำยาฟอกขาวทุกวัน หรือเมื่อเปียกชื้น เปื้อน ในกรณีใส่หน้ากากอนามัย เมื่อถอดควรนำไปทิ้งในภาชนะที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ ที่สำคัญ ทั้งเด็ก ๆ และผู้ปกครองจะต้องล้างมือทันทีที่สัมผัสกับหน้ากากที่ใช้แล้ว


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับ ลูกน้อย หรือ สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  1. กรมสุขภาพจิต. เช็ค “อาการโอไมครอนในเด็ก” 9 ข้อ แบบไหนส่งสัญญาณอันตราย 15% ผื่นขึ้นผิดปกติ. 4 กุมภาพันธ์ 2565. Retrieved on April 25, 2022 from https://www.dmh.go.th/sty_lib/news/news/view.asp?id=31558
  2. ดร.วนพร ทองโฉม นักวิชาการโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19.,มิถุนายน 2563. Retrieved on April 25, 2022 from https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue037/healthy-eating 
  3. รศ. พญ. วนัทปรียา พงษ์สามารถ สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. รู้ทัน ป้องกันหนูน้อยห่างไกล COVID-19. 27 เมษายน 2563. Retrieved on April 25, 2022 from https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1420

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา