การคุมกำเนิด คือการป้องกันการตั้งครรภ์ เพื่อไม่ให้ พลาดตั้งครรภ์ โดยไม่ให้อสุจิผสมกับไข่หรือป้องกันการฝังตัวของตัวอ่อนที่โพรงมดลูก ซึ่งการคุมกำเนิดมีหลากหลายวิธีสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้ ทั้งนี้ไม่มีการคุมกำเนิดวิธีใดที่จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% ค่ะ
ซึ่งอัตราความล้มเหลวในการคุมกำเนิด สามารถคำนวณได้ 2 แบบค่ะ
1. Perfect Use – คืออัตราความล้มเหลวที่เกิดจากการคุมกำเนิดไม่ได้ผล ทั้งที่ผู้ใช้งานปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
2. Typical Use – คืออัตราความล้มเหลวที่เกิดจากผู้ใช้ เช่นใช้การคุมกำเนิดผิดวิธี ซึ่งถ้าตัวเลขยิ่งสูงแสดงว่ามีโอกาสสูงที่การคุมกำเนิดจะล้มเหลว จึงมีโอกาส พลาดตั้งครรภ์ ได้สูง
ซึ่งอัตราความล้มเหลวแบบ Typical Use เป็นตามตารางด้านล่างเลยค่ะ
วิธีคุมกำเนิด |
อัตราการล้มเหลวแบบ Typical use |
ยาคุมฉุกเฉิน |
15-25% |
นับวันปลอดภัย |
24% |
หลั่งภายนอก |
22% |
ถุงยางอนามัย |
18% |
ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดรับประทานแบบรายเดือน |
9% |
ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง 3-5 ปี |
0.05% |
ทำหมัน (ชาย – หญิง) |
0.15, 0.5% |
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด สามารถใช้การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพดี 2 ชนิดควบคู่กัน (Dual Method) เช่นใช้ถุงยางอนามัยควบคู่กับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบรายเดือน นอกจากนี้การใช้ถุงยางอนามัยยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย
นอกจากประสิทธิภาพแล้ว การคุมกำเนิดแต่ละวิธีก็ยังส่งผลแตกต่างกันบางเรื่องด้วย เช่น ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ไม่เท่ากัน สามารถปรึกษาเภสัชกรเอ็กซ์ต้าพลัสเพื่อเลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับผู้ใช้มากที่สุดได้เลยค่ะ
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ ดีต่อสุขภาพ ดีต่อรูปร่าง ดีต่อผิวพรรณ ไม่ให้ พลาดตั้งครรภ์ สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
เอกสารอ้างอิง
- World Health Organization. Medical eligibility criteria for contraceptive use 5th edition. 2015.
- พิชญา ดิลกพัฒนมงคล, ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ยาคุมฉุกเฉิน..เรื่องจริงที่ผู้หญิงต้องรู้. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/54/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/ (สืบค้นวันที่ 13 เม.ย. 2565).
- De Leo, et al. Hormonal contraceptives: pharmacology tailored to women’s health. Human Reproduction Update, Vol.22, No.5 pp. 634–646, 2016.