วิธีดูแลดวงตาให้สดใส สำหรับคนใส่ คอนแทคเลนส์

คอนแทคเลนส์

หากพูดถึง คอนแทคเลนส์ หลาย ๆ คนคงคุ้นเคย เป็นอย่างดี เนื่องจาก ปัจจุบันเรานิยมใส่ คอนแทคเลนส์ แทนแว่นสายตา เนื่องจากความคล่องตัวในการใช้ชีวิต หรือเพราะความสวยงามด้วยเช่นกัน


คอนแทคเลนส์ มีความคมชัดในการมองภาพ สะดวกสบายในการใส่ มากกว่า รวมถึงหาซื้อได้ง่าย และสามารถใส่ เพื่อความสวยงามได้อีกด้วย แต่หากเราไม่ดูแลความสะอาดของ คอนแทคเลนส์ ให้ดี อาจทำให้ดวงตาติดเชื้อ และอาจเป็นอันตราย ถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ค่ะ บทความนี้ เราจะมาทำความรู้จัก กับคอนแทคเลนส์และการใช้งาน อย่างถูกต้องให้มากขึ้นค่ะ


คอนแทคเลนส์แบ่งตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่

  1. คอนแทคเลนส์แบบรายวัน คือ ใส่ ถอด และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์อันใหม่ทุกวัน

  2. คอนแทคเลนส์แบบรายสัปดาห์ คือ ใส่และถอดออกทุกวัน และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์อันใหม่ทุก 1-2 สัปดาห์

  3. คอนแทคเลนส์แบบรายเดือน คือ ใส่และถอดออกทุกวัน และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์อันใหม่ทุก 1 เดือน

  4. คอนแทคเลนส์แบบรายปี ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจากต้องใช้การดูแลที่เข้มงวด

  5. คอนแทคเลนส์ชนิดใส่ต่อเนื่อง ปกติจะไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากต้องใส่ติดต่อกัน 2-4 สัปดาห์แล้วจึงเปลี่ยน ทำให้มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้มากกว่าแบบที่ใส่แล้วถอดทุกวัน


สิ่งสำคัญ ในการใช้คอนแทคเลนส์ คือ ต้องมีความเข้าใจ ในการใช้ เข้าใจการปฏิบัติตน ในการใส่ ถอด และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ ข้อแนะนำ เกี่ยวกับการใช้คอนแทคเลนส์ มีดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อน สัมผัสคอนแทคเลนส์และดวงตา

  • ทำความสะอาด คอนแทคเลนส์และ กล่องใส่คอนแทคเลนส์ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอและถูกต้องตามขั้นตอน ควรเลือกน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อกระจกตา ขจัดคราบโปรตีนและสิ่งสกปรก ให้ความชุ่มชื้นแก่คอนแทคเลนส์ก่อนการสวมใส่

  • อย่าใส่คอนแทคเลนส์ตอนนอน หรือขณะว่ายน้ำ และไม่ใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับผู้อื่น

  • อย่าใช้น้ำประปา น้ำบาดาล หรือน้ำเกลือที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อในการล้างหรือทำความสะอาดคอนแทคเลนส์

  • ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ต่อเนื่องนานเกิน 8–10 ชั่วโมง/วัน ควรเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ตามระยะเวลาทกำหนดสำหรับคอนแทคเลนส์ชนิดนั้นๆ

  • ขณะใส่คอนแทคเลนส์ หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ตาแดง เจ็บตา มีขี้ตา ตามัว ควรหยุดใส่คอนแทคเลนส์ และรีบพบจักษุแพทย์ทันที


ภาวะผิดปกติหรือโรคที่อาจเกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์

  1. อาการตาแห้ง พบในผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์นาน 2-3 ปี การใส่คอนแทคเลนส์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การไหลเวียนของน้ำตาที่กระจกตาลดลง อาจมีความจำเป็นต้องหยอดน้ำตาเทียมเพื่อลดอาการตาแห้ง

  2. การอักเสบของกระจกตาและเยื่อบุตา

  3. การเกิดตุ่มอักเสบที่เปลือกตาด้านใน เกิดจากการระคายเคือง

  4. การอักเสบที่เยื่อบุผิวของกระจกตา จำเป็นต้องหยุดการใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าแผลจะหายเสียก่อน

  5. การติดเชื้อที่กระจกตา เป็นโรคอันตรายที่สุด เนื่องจากอาจส่งผลให้ตาบอดถาวรได้ สาเหตุเป็นได้ทั้งจากตัวผู้ใช้ น้ำยาที่ใช้กับเลนส์ หรือภาชนะบรรจุเลนส์


การใช้คอนแทคเลนส์ มีประโยชน์ทั้งเรื่องสายตา และเพื่อความสวยงาม แต่หากใช้ไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิด การติดเชื้อและก่อให้เกิด โรคร้ายแรงอื่น ๆ จนถึงขั้นสูญเสีย การมองเห็นได้ ดังนั้นการใช้ และดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ อย่างถูกวิธีจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ก่อนตัดสินใจใส่คอนแทคเลนส์ อย่าลืมเลือกหาน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ที่ สามารถฆ่าเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อกระจกตา ขจัดคราบโปรตีน และสิ่งสกปรก รวมถึงให้ความชุ่มชื้นแก่ คอนแทคเลนส์ ก่อนการสวมใส่ ไว้ใช้คู่กันด้วยนะคะ


สามารถเลือกซื้อน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ Renu Fresh  น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ได้มาตรฐาน  มีคุณภาพสามารถซื้อได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส  ทุกสาขา ค้นหาสาขาที่ได้ที่นี่ exta.co.th/store หรือสามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ ALL Online By 7-Eleven และ ShopAt24 มีบริการส่งฟรีที่เซเว่นอีเลฟเว่นสาขาใกล้บ้านด้วยนะคะ


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สายตา หรือ สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  1. การใช้งานคอนแทคเลนส์ (no date) การใช้งานคอนแทคเลนส์ | คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. Available at: https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/10192020-1103 (Accessed: October 20, 2022).
  2. “แพทย์แนะวิธีดูแลคอนแทคเลนส์อย่างถูกต้อง” (2021) รามา แชนแนล. Available at: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%84/ (Accessed: October 20, 2022).

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา