ปัสสาวะแสบขัด เกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงที่ไม่ควรปล่อยไว้

ปัสสาวะแสบขัด เกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงแต่ละโรคที่ไม่ควรปล่อยไว้

เมื่อมีอาการ ปัสสาวะแสบขัด  นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือน ของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่ไม่ควรมองข้าม ึ่งหากปล่อยไว้อาจนำไปสู่ การเกิดโรคเรื้อรังในระยะยาวได้  

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส มีข้อมูลเกี่ยวกับ ปัสสาวะแสบขัด เกิดจากอะไร เช็กอาการเสี่ยงแต่ละโรคที่ไม่ควรปล่อยไว้ มาแชร์กัน 

 

ปัสสาวะ คืออะไร มีหน้าที่อย่างไรต่อร่างกาย  

ปัสสาวะ (Urine) คือ น้ำ หรือของเหลว ที่เป็นของเสียจากการกรองของร่างกาย โดยขับออกผ่านทางไตและนำออกนอกร่างกาย โดยผ่านระบบทางเดินปัสสาวะ คือ กรวยไต, ท่อไต, กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ตามลำดับ ในทางการแพทย์นั้นจะใช้อาการผิดปกติของการปัสสาวะ เป็นส่วนหนึ่งในการบ่งชี้หรือวินิจฉัยโรค เช่น ปัสสาวะแสบขัด หรือ ปัสสาวะมีสีมีกลิ่น เป็นต้น  

 

รู้จักกับลักษณะอาการและสาเหตุ ของ ปัสสาวะแสบขัด หรือ Dysuria (Painful Urination) 

 

รู้จักกับอาการและสาเหตุ ของ ปัสสาวะแสบขัด Dysuria (Painful Urination)

 

ลักษณะอาการที่สามารถเห็นได้เด่นชัด คือ ในขณะปัสสาวะจะมีอาการเจ็บปวด แสบร้อน หรือรู้สึกไม่สบายบริเวณอวัยวะที่ปัสสาวะ รู้สึกลำบากทุกครั้งที่ต้องทำการปัสสาวะ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่นั้นมาจากการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection) ทั้งนี้จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันไปตามส่วนของอวัยวะหรือโรคติดเชื้อที่เป็น  

 

ปัสสาวะแสบขัด เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?

1. อาการ ปัสสาวะแสบขัด จาก โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis

 

อาการ ปัสสาวะแสบขัด จาก โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

 

มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีลักษณะท่อปัสสาวะที่สั้น อยู่ใกล้ช่องคลอดและทวารหนัก อันเป็นเหตุให้เชื้อโรคผ่านเข้ามาได้ง่าย ขณะที่ในผู้ชายนั้น มีท่อปัสสาวะที่ยาวและอยู่ไกลทวารหนักมาก จึงมีโอกาสเสี่ยงที่เชื้อโรคจะเข้ามาสู่ท่อปัสสาวะน้อยกว่า 

ลักษณะอาการ

ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย แต่ทุกครั้งจะมีจำนวนน้อย เหมือนปัสสาวะไม่สุด มีสีขุ่น มีกลิ่นผิดปกติ หรือมีเลือดปน เจ็บท้องน้อยใกล้กับบริเวณ กระเพาะปัสสาวะ   

สาเหตุ   

สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้  

  • ทางเดินปัสสาวะมีการติดเชื้อ (UTI: Urinary Tract Infection) แบคทีเรีย ชนิด Escherichia Coli หรือ อีโคไล (E.Coli) ที่สามารถพบได้บ่อยในระบบทางเดินปัสสาวะ  
  • สาเหตุอื่นที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การทานยารักษาโรคบางชนิด, การอักเสบจากรังสี, การใช้สายสวนปัสสาวะ, สารเคมีที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย และ การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน นิ่วในไต เป็นต้น  

วิธีป้องกันความเสี่ยงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ  

  • ไม่ควรกลั้นปัสสาวะบ่อยโดยไม่จำเป็น  
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณ 8 – 10 แก้วต่อวัน 
  • ทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังขับถ่ายด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อโรค โดยทีู่้หญิง ควรเช็ดอวัยวะเพศจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ ส่วนในผู้ชายใช้ผ้าสะอาดหรือกระดาษทิชชู ซับให้แห้ง  
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอวัยวะเพศที่มีส่วนผสมของน้ำหอม  
  • หลีกเลี่ยงอวัยวะเพศไม่ให้สัมผัสกับสารเคมีในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายมากเกินไป 
  • ไม่ใส่ชั้นใน และเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป

2. อาการ ปัสสาวะแสบขัด จาก โรคกรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลัน (Acute Pyelonephritis)

 

"อาการ

 

เกิดจากระเพาะปัสสาวะ (Bladder) มีการติดเชื้อ ชนิด Escherichia Coli หรือ อีโคไล (E.Coli) และแพร่กระจายไปสู่ ไต (Kidney) ซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่ว เนื่องจากอาจทำให้ไตเสียหาย และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ 

ลักษณะอาการ  

ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา มีสีขุ่น มีกลิ่นผิดปกติหรือมีกลิ่นเหม็น มีเลือดหรือหนองปนออกมา (Hematuria) ปวดสีข้าง หรือบริเวณเอว ร่วมกับอาการไข้ หนาวสั่น 

สาเหตุ   

ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อ อีโคไล (E.Coli) โดยอาจจะมาจากการเป็นกระเพาะหรือท่อปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้เชื้อชนิดนี้แพร่กระจายมายังไตได้  

วิธีป้องกันความเสี่ยงโรคกรวยไตอักเสบ   

  • ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อให้ร่างกายได้ทำการปัสสาวะ เพื่อขับแบคทีเรียออกจากร่างกาย 
  • ไม่ควรกลั้นปัสสาวะบ่อย ไปห้องน้ำทันทีที่รู้สึกปวด  
  • หลังมีเพศสัมพันธ์ควรทำการปัสสาวะทุกครั้ง  
  • ทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังขับถ่ายด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อโรค โดยทีู่้หญิง ควรเช็ดอวัยวะเพศจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ ส่วนในผู้ชายใช้ผ้าสะอาดหรือกระดาษทิชชู ซับให้แห้ง 

3. อาการ ปัสสาวะแสบขัด จาก โรคท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis)

 

อาการ ปัสสาวะแสบขัด จาก โรคท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis)

 

คือ การติดเชื้อจากท่อปัสสาวะ ที่มีหน้าที่นำส่งปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะออกจาร่างกาย สามารถพบได้น้อยมาก โดยที่ในผู้หญิง มักพบบริเวณอาการจากท่อปัสสาวะ ซึ่งจะแยกกันกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) ในผู้ชายนั้นจะไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อของท่อปัสสาวะโดยตรง (Neisseria Gonorrhoeae) แต่อาจเกิดจากโรค เช่น หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) เป็นต้น

ลักษณะอาการ

  • ในผู้หญิง: ปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าปกติ, ปัสสาวะแสบขัด รู้สึกไม่สบายบริเวณที่ปัสสาวะ, มีอาการแสบร้อนระคายเคืองบริเวณ ช่องปัสสาวะ (Urethral Opening) หรือ อาจมีอาการตกขาวผิดปกติร่วมด้วย
  • ในผู้ชาย: มีอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ, คันบริเวณช่วงหัวของอวัยวะเพศ, มีเลือดปนในปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ หรือ มีของเหลวไหลออกมาจากอวัยวะเพศอย่างผิดปกติ

สาเหตุ

ส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) และ กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute Pyelonephritis) รวมไปถึงแบคทีเรียตามธรรมชาติที่สามารถพบได้ทั่วไปบริเวณอวัยวะเพศ โดยเชื้อแบคทีเรียที่สามารถพบได้ทั่วไปที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ คือ

  • เชื้อแบคทีเรียไนซีเรียโกโนเรีย (Neisseria Gonorrhoeae): เชื้อที่ทำให้เกิดโรคหนองใน ทางการแพทย์จัดให้การติดเชื้อชนิดนี้ เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • เชื้อคลาไมเดีย (Chlamydia Trachomatis): ทางการแพทย์จัดให้การติดเชื้อชนิดนี้ เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • เชื้อไมโครพลาสมา เจนนิทัลเลียม (Mycoplasma Genitalium): ทางการแพทย์จัดให้การติดเชื้อชนิดนี้ เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

วิธีป้องกันความเสี่ยงโรคท่อปัสสาวะอักเสบ

  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน
  • สวมใส่ถุงยางทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อจากคู่นอน
  • รับการทดสอบหาเชื้อที่อาจเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นประจำ

4. อาการ ปัสสาวะแสบขัด จาก ภาวะช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis)  

 

 

ภาวะ Vaginitis นั้น ทาการแพทย์ระบุว่าเป็นการผิดปกติต่างที่ทำให้ช่องคลอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ ซึ่งภาวะเหล่านี้อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียโดยตรง, การใช้แผ่นอนามัย, การสวนล้างช่องคลอดที่รุนแรง, การระคายเคืองจากสารเคมีที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอดร่างกาย, การสัมผัสจากเสื้อผ้า หรือ จากการมีเพศสัมพันธ์ 

สาเหตุและลักษณะอาการ

บ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ  

1. ภาวะของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ 

  • การติดเชื้อแคนดิดา (Candida) หรือ เชื้อรายีสต์ (Yeast): แสบร้อนเมื่อปัสสาวะ (Dysuria), ตกขาวมีสีข้นขาว, มีของเหลวไหลออกมาโดยไม่มีสีหรือกลิ่น หรือ มีอาการคัน และแดงบวมบริเวณช่องคลอดหรือปากช่องคลอดก่อนที่จะมีการตกขาว  
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis): โดยทั่วไปผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ จะทราบว่าติดเชื้อเมื่อได้รับการทดสอบ แต่สามารถสังเกตได้เมื่อ ตกขาวมีกลิ่นผิดปกติหรือแย่ลงทุกครั้งหลังจากมีเพศสัมพันธ์, มีของเหลวที่มีกลิ่น คาว ไหลออกมาจากช่องคลอดมีลักษณะเบาบาง และมีสีเหมือนน้ำนม   
  • พยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis หรือ Trich): ปัสสาวะบ่อย ปวดแสบขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์, มีอาการบวม แสบ แดง คัน บริเวณอวัยวะเพศ, มีตกขาวมากขึ้นผิดปกติ มีลักษณะเป็นฟอง มีกลิ่นเหม็นคาวปลา รวมไปถึงมีเลือดออกบริเวณช่องคลอด ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลให้เชื้อแพร่กระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในระยะยาวอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย  
  • การติดเชื้อคลาไมเดีย (Chlamydia Trachomatis): โดยทั่วไปผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ จะทราบว่าติดเชื้อเมื่อได้รับการทดสอบ แต่สามารถสังเกตได้เมื่อ มีเลือดออกเล็กน้อยหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ปวดท้องส่วนล่างหรือบริเวณกระดูกเชิงกราน 
  • การติดเชื้อ Herpes Vaginitis (HSV): มีลักษณะเป็นแผล ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถรับรู้ได้เนื่องจากมีอาการเจ็บบริเวณแผลที่อยู่ส่วนปากช่องคลอด ทั้งนี้เพื่อความแม่นยำควรได้รับการตรวจภายในเพื่อหาเชื้อจะดีที่สุด 

2. ภาวะของโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ 

  • ภาวะช่องคลอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การระคายเคืองจากสารเคมี ,การเสียดสีจากร่มผ้า หรือ ภาวะ Atrophic Vaginitis ช่องคลอดอักเสบจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen): แสบร้อนขณะปัสสาวะหรือขณะมีเพศสัมพันธ์, ปัสสาวะบ่อย, มีอาการคัน แสบร้อน และระคายเคืองบริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอด ตกขาวมีลักษณะเป็นมูกเหนียวข้น มีสีเหลืองหรือเขียว 

วิธีป้องกันความเสี่ยงภาวะช่องคลอดอักเสบ  

  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบริเวณจุดซ่อนเร้นที่มีความอ่อนโยน หรือเลือกใช้ผ้าอนามัยที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม ป้องกันการระคายเคือง  
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน 
  • สวมใส่ถุงยางทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อจากคู่นอน  
  • ไม่สวนล้างช่องคลอดเพราะอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อ รวมไปถึงอาจทำให้ช่องคลอดอักเสบได้ 

 

วิธีการรักษาอาการ ปัสสาวะแสบขัด โดยทั่วไป  

1.การรักษาอาการ ปัสสาวะแสบขัด ด้วยการทานยาปฏิชีวนะ 

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) คือ ยาที่ใช้ฆ่าเชื้อ หรือยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ทั้งนี้ไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัส หรือแก้อาการอักเสบหรือแก้ปวดได้ ในกรณีที่มีอาการปวดแสบรุนแรง แพทย์อาจให้ใช้ยายาปฏิชีวนะฟีนาโซไพริดีน (Phenazopyridine) ที่อาจส่งผลให้ปัสสาวะของเป็นสีแดงส้มได้ ทั้งนี้ต้องได้รับคำสั่งจ่ายยาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น 

2.การรักษาอาการ ปัสสาวะแสบขัดจากการระคายเคืองผิวหนัง

หลีกเลี่ยง การสัมผัส หรือการโดนบริเวณที่มีอาการ 

3.ดื่มน้ำให้มากเพื่อบรรเทาอาการปัสสาวะแสบขัด

เพื่อเป็นการขับเชื้อแบคทีเรียออกมาด้วยการปัสสาวะ 

4.การใช้ยาบรรเทาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น

เช่น การรับประทานยา พาราเซตามอล ที่มีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการปวด      

 

อาการใดบ้างจากภาวะ ปัสสาวะแสบขัด ที่เป็นสัญญาณเตือนต้องพบแพทย์ด่วน  

 

อาการอื่นนอกเหนือจากปัสสาวะแสบขัด ที่เป็นสัญญาณเตือนต้องพบแพทย์ด่วน

 

  • ปัสสาวะ แสบขัด 
  • ปวดแสบ ปวดร้อนขณะปัสสาวะ 
  • ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ 
  • ไม่สามารถอั้นปัสสาวะได้  
  • ปวดท้อง  
  • ปวดหลัง  
  • ปวดบริเวณเอว 
  • มีไข้ หนาวสั่น  
  • มีอาการผิดปกติบริเวณอวัยวะเพศ เช่น มีของเหลวไหลออกมา หรือมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ  
  • ปวดแสบบริเวณอวัยวะเพศมาก 

 

สรุป ปัสสาวะแสบขัด เกิดจากอะไร เชกอาการเสี่ยงแต่ละโรคที่ไม่ควรปล่อยไว้ 

อาการ ปัสสาวะแสบขัด นั้น คือหนึ่งในลักษณะอาการของโรคติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะต่างเช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กรวยไตอักเสบ หรือ การติดเชื้อบริเวณอื่นนอกเหนือจากนั้นยังมีอาการอื่นร่วมด้วย ดังนั้นผู้ป่วยควรสังเกตอาการของตัวเองอย่างใกล้ชิด และควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโรคต่อไป เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนที่ส่งผลเสียต่อรางกายในระยะยาวได้  

 

ทั้งนี้ อาการปัสสาวะลำบาก ถือเป็นหนึ่งใน 16 กลุ่มอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่สามารถเข้ารับยาได้ แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ตามร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ โดยสำหรับผู้ที่ม สิทธิบัตรทอง หรือ หลักประกันสุขภาพ 30 บาท ก็สามารถขอเข้ารับสิทธิ์ได้แล้วที่ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส กว่า 200 สาขา ทั่วประเทศ 

 

ที่มา  

Dysuria (Painful Urination) จาก Cleveland Clinic  

ปัสสาวะแสบขัด ไม่ควรกินยาล้างไต จาก คณะกรรมการอาหารและยา   

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  

รายงานเรื่องโรค Acute Pyelonephritis จาก National Library of Medicine  

บทความ Pyelonephritis จาก Healthline  

โรคติดเชื้อระบบสืบพันธุ์น่ารู้: การติดเชื้อคลาไมเดีย จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  

บทความ Urethritis จาก Healthline  

รายงานเรื่องโรค Urethritis จาก National Library of Medicine 

บทความ Vaginitis จาก Cleveland Clinic  

“โรคพยาธิในช่องคลอด” ภัยเงียบที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จาก RAMA Channel 

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

 

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง