ขับรถทางไกลอย่างไร ไม่ให้ปวดหลัง

ปวดหลัง

ปวดหลัง อาการที่มักมาพร้อมใกล้ช่วงเทศกาล หลายคนอาจเตรียมวางแผนในการท่องเที่ยว หรือกลับบ้านไปหาครอบครัวที่ต่างจังหวัด แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องระวังนั่นก็คือ อาการ ปวดหลัง จากการนั่งขับรถนาน ๆ หรือจากการเดินทางเป็นเวลานานหลายชั่วโมง


ซึ่งนอกจากอาการ ปวดหลัง แล้ว บางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวลงขา หรือลงไปที่กล้ามเนื้อน่อง วันนี้เรามีวิธีปรับเปลี่ยนและวิธีคลายกล้ามเนื้อ เพื่อแก้ปวดเมื่อย จากการนั่งขับรถนาน ๆ มาแนะนำกันค่ะ


สาเหตุหลัก ๆ จากการ ปวดหลัง

  • พฤติกรรมท่านั่งในการขับรถที่ไม่ถูกต้อง เช่น นั่งชิดหรือห่างจากพวงมาลัยมากเกินไป

  • การนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนท่าทาง


วิธีการปรับท่านั่งในการขับรถที่ถูกต้อง

  1. ปรับระยะนั่งใกล้ – ไกล เริ่มจากเลื่อนเบาะมาด้านหน้า ปรับระยะการนั่งที่เหมาะสม

  2. ขยับพนักพิงหลังให้พอดี ปรับพนักพิงให้เหมาะกับตัวเราให้สามารถพิงได้จนถึงระดับไหล่ นั่งแล้วไม่ต้องยกไหล่ ไม่เหยียดแขนมากหรือตึงมากเกินไป

  3. ปรับการเอียงของเบาะนั่ง ปรับความลาดเอียงของที่นั่งให้ต้นขาสัมผัสกับที่นั่งทั้งหมด และต้องระวังไม่ให้มีแรงกดที่ด้านหลังของเข่ามากไป

  4. ปรับความสูงต่ำของเบาะ ปรับได้ตามความสูงของผู้ขับขี่ อย่างเช่น คนตัวสูงขาก็จะยาว จึงต้องปรับเบาะให้ห่างจากพวงมาลัยมากขึ้นเพื่อให้ขับได้ถนัด


วิธีคลายกล้ามเนื้อ เพื่อบรรเทาอาการ ปวดหลัง และขา

ท่าที่ 1  ยกแขนขวาให้ตั้งขนานกับพื้น ตั้งฉากกับลำตัว จากนั้นใช้มือซ้ายจับข้อศอกขวา และให้ออกแรงผลักไปข้างหลัง ทำค้างไว้และนับ 1-5 จากนั้นสลับทำอีกข้าง โดยให้ทำซ้ำกันประมาณ 5 ครั้ง

ท่าที่ 2 เหยียดขาออกไปด้านหน้า จากนั้นยกเท้าขึ้น เหยียดปลายเท้าให้สุด และให้กระดกปลายเท้าขึ้นลงทำประมาณ 5 ครั้ง โดยทำสลับข้างไปเรื่อย ๆ โดยเป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการเมื่อยล้าขณะขับรถได้ดี

ท่าที่  3  ท่ายืดไหล่ นั่งยืดตัว บีบไหล่ยกขึ้นไปหาใบหู ค้างไว้ นับ 1 – 2 แล้วเอาลง 5 ครั้ง จะรู้สึกกระชุ่มกระชวยขึ้น

ท่าที่ 4 ท่าบิดตัว นั่งยืดตัวตรงขึ้น มือจับที่ขอบเบาะ มือซ้ายสอดใต้ขาขวา บิดตัว ค้างไว้ นับ 1 – 5 ทำสลับข้าง 5 ครั้ง

ท่าที่  5  ท่าบริหารเท้า นั่งเหยียดขาไปด้านหน้า ยกเท้าให้ลอยขึ้นพ้นพื้น เหยียด จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อแขน บรรเทาปวดเมื่อย ทำ 5 ครั้งแล้วสลับข้างซ้าย – ขวา จะช่วยคลายปวดเมื่อยได้

ท่าที่ 6 ท่ายืดกล้ามเนื้อน่องในท่ายืน ยืนตัวตรง มือทั้ง 2 ข้างจับพนักพิงค่อย ๆ เขย่งปลายเท้าทั้ง 2 ข้างขึ้น ค้างไว้ 5 วินาที แล้วกลับมายืนในท่าปกติทำสลับไปมาจนครบ 10 ครั้ง

ท่าทีี 7 ท่ายืดกล้ามเนื้อขาด้านหน้าและด้านหลัง ยืนพับเข่าไปด้านหลัง ใช้มือดึงข้อเท้าเข้าหาสะโพก ให้รู้สึกตึงที่ต้นขาด้านหน้า ลำตัวตรง ค้างไว้ 10-15 วินาที แล้วเปลี่ยนข้าง ทำซ้ำ 4-5 รอบ


คำแนะนำ

  1. ควรหยุดพักการขับรถทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อลุกเดินไปมา เปลี่ยนท่ายืดเส้นยืดสาย

  2. ควรหาอุปกรณ์สำหรับหนุนหลังส่วนล่าง เพื่อช่วยป้องกันการปวดหลัง

  3. หากมีอาการปวด สามารถใช้แผ่นแปะแก้ปวดหรือยานวด เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้

ปวดหลัง


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  • อนามัยมีเดีย – สาระสุขภาพที่ทันสมัย ให้คุณเข้าใจได้ง่าย ไม่ตกเทรน (no date). Available at: https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/ (Accessed: December 14, 2022).
  • Hospital, P. (no date) ลดอาการเมื่อยขาด้วย 5 ท่าบนเก้าอี้, URL Shortener – Short URLs & Custom Free Link Shortener. Available at: https://bit.ly/3NG4wRD (Accessed: December 14, 2022).

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา