จุลินทรีย์ ที่ดีกับร่างกาย

จุลินทรีย์ ที่ดีกับร่างกาย

โพรไบโอติคส์ (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ ที่มีชีวิต ที่เมื่อรับประทานเข้าไป จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายในการช่วยปรับสมดุลการทำงานของลำไส้ และระบบต่างๆ ของร่างกาย

ซึ่ง จุลินทรีย์ โพรไบติคส์ที่พบมากและใช้ในทางการแพทย์มี 3 ชนิดหลักๆ ได้แก่

  • Lactobacillus casei, Lactobacillus acidophilus เป็นโพรไบโอติคส์ชนิดแบคทีเรีย พบบ่อยที่สุดในท้องตลาด พบมากในโยเกิร์ตและอาหารประเภทหมักดอง

  • Bifidobacterium bifidum คือ โพรไบโอติคส์ชนิดแบคทีเรีย พบมากในนมและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนม

  • Saccharomyces boulardii คือ ไพรโบติดส์ชนิดยีสต์

การเลือกซื้อโพรไบโอติกส์สำหรับปรับการทำงานของลำไส้และระบบต่างๆของร่างกาย ควรเลือกชนิดในชนิดหนึ่งใน 3 ชนิดนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย


พรีไบโอติคส์ (Prebiotics) คือ อาหารของโพรไบโอติคส์ ที่จะช่วยเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ พบได้มากในไฟเบอร์จากผักและผลไม้

ซินไบโอติคส์ (Synbiotics) คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติคส์และพรีใบโอติคส์


ประโยชน์ของโพรไบโอติคส์ 

หลักการทำงานของโพรไบโอติคส์คือเพิ่มจำนวน จุลินทรีย์ ที่ดี ที่ช่วยในการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกายให้มากขึ้น โดยปกติร่างกายจะมีจำนวน จุลินทรีย์ ในสัดส่วนที่พอเหมาะกับการทำงาน แต่ในสภาวะบางอย่างอาจทำให้จำนวนโพรไบโอติคส์ลดลงเช่นการใช้ยาฆ่าเชื้อ ที่จะกำจัดทั้ง จุลินทรีย์ ที่ดีและไม่ดี ส่งผลต่อร่างกายเช่นทำให้ท้องเสียได้


ปัจจุบันได้มีการใช้โพรไบโอติคส์สำหรับหลากหลายอาการ ได้แก่

  • โรคท้องร่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งท้องร่วงจากการใช้ยาฆ่าเชื้อเป็นเวลานาน

  • ภาวะไม่ทนต่อน้ำตาลแลคโตสในนม

  • โรคท้องผูกโดยโพรไบโอติคส์ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้จึงสามารถใช้ในอาการท้องผูกได้

  • โรคลำไส้แปรปรวน (IBS, Irritable Bowel Syndrome)

  • โรคลำไส้อักเสบ(IBD, Inflammatory Bowel Disease)

  • โรคเชื้อราในช่องคลอดหรือตกขาว


นอกจากนี้ในต่างประเทศยังมีการใช้โพรไบโอติคส์สำหรับการติดเชื้อที่ผิวหนัง โรคผื่นผิวหนังอักเสบ และการติดเชื้อที่ระบบอื่นๆ เช่น ช่องปากและเหงือก และเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย ทั้งนี้การใช้โพรไบโอติคส์สำหรับประโยชน์เหล่านี้ยังไม่แพร่หลายในประเทศไทย และยังไม่มีข้อมูลจากงานวิจัยที่รองรับเพียงพอ

 

โพรไบโอติคส์พบได้แพร่หลายในอาหารจำพวกโยเกิร์ต นม ชีส อาหารหมักดอง รวมถึงในรูปแบบอาหารเสริมและยาไม่ว่าจะเป็นแคปซูลหรือผง ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกแหล่งของโพรไบโอติคส์ที่ต้องการได้ ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดจากการรับประทานโพรไบโอติคส์ ควรคำนึงถึงชนิดของ จุลินทรีย์ จำนวน จุลินทรีย์ รวมถึงวิธีการเก็บรักษาเพื่อคงสภาพเชื้อ จุลินทรีย์ ที่ดีไว้


ทั้งนี้ โพรไบโอติคส์ จัดได้ว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับการใช้ แต่ในกลุ่มคนบางประเภทที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายน้อยกว่าคนปกติ เช่น คนที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน หรือผู้ป่วยหลังผ่าตัดใหญ่ การรับประทานโพรไบโอติคส์อาจเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ การดื้อยาฆ่าเชื้อหรือได้รับอันตรายจากการใช้โพรไบโอติคส์ได้ ดังนั้นคนกลุ่มนี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเอ็กซ์ต้า พลัสใกล้บ้าน ก่อนพิจารณาใช้โพรไบโอติคส์


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา