อาการ นอนกรน อาการที่รบกวนการนอนกลับ รวมถึงคนใกล้ชิด หากปล่อยไว้นาน ไม่ตรวจสุขภาพ อาจมากกว่าแค่การนอนกรน วันนี้เอ็กซ์ต้า จึงจะมาแนะนำวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยลดการนอนกรนให้ลดลง เพื่อให้คุณนอนหลับสนิท พักผ่อนได้อย่างเต็มที่ค่ะ
- ปรับเปลี่ยนท่านอน : นอนตะแคงข้าง แทนการนอนหงาย หรืออาจนอนบนหมอนสูงก็จะช่วยเปิดช่องทางการหายใจทางจมูก และป้องกันการ นอนกรน ได้ แต่ถ้าการเปลี่ยนท่านอนไม่เป็นผล แนะนำควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วยได้
- ลดน้ำหนัก : วิธีนี้จะได้ผลก็ต่อเมื่อปกติไม่ได้เป็นคน นอนกรน แต่พอเมื่อน้ำหนักมากขึ้นถึงจะมีอาการกรน โดยเฉพาะคนที่มีบริเวณคอที่หนาขึ้น ก็จะยิ่งเกิดการกรนมากขึ้น
- เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ : ทั้งแอลกอฮอล์และยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังคอหย่อนลงได้ โดยเฉพาะถ้าดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 4-5 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ก็จะยิ่ง นอนกรน หนักขึ้น
- นอนหลับให้เพียงพอ : ถ้าหากอดนอนเนื่องจากการทำงานหนัก ร่างกายก็จะยิ่งเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ เวลานอน กล้ามเนื้อคอจะยิ่งหย่อนคล้อยมากขึ้น ทำให้กรนมากขึ้น
- ทำจมูกให้โล่ง : บางกรณีเกิดเสียงกรนจากช่องจมูกที่อุดตัน เช่น มีน้ำมูก หรือ คัดจมูก จากไข้หวัด ซึ่งจะทำให้อากาศที่ใช้หายใจเคลื่อนผ่านเร็วขึ้น จึงเกิดเสียงหายใจที่ดัง หรือเสียงกรนได้ การอาบน้ำอุ่นก่อนนอน และการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือก็จะก็จะช่วยลดการอุดตันของช่องจมูกได้
- เปลี่ยนหมอนบ่อยๆ : ไรฝุ่นในห้องนอนและหมอนนั้นเป็นสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ในร่างกาย ซึ่งเป็นเป็นสาเหตุของการกรนได้ จึงควรทำความสะอาดหมอนทุกๆ 2 สัปดาห์ เปลี่ยนหมอนทุกๆ 6 เดือนและทำความสะอาดห้องนอน เช่น แอร์ หรือ พัดลมเพดาน ร่วมด้วย
- ดื่มน้ำให้มากๆ : การดื่มน้ำน้อยจะทำให้สารคัดหลั่งในโพรงจมูกและเพดานอ่อน มีความเหนียวยิ่งขึ้น จึงเกิดเสียงกรนได้ ปริมาณน้ำที่ควรดื่มต่อวันสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย คือประมาณ 11 และ 16 แก้ว ตามลำดับ