เชื้อโควิดที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ พบว่าร้อยละ 69.1 เป็นการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าซึ่งทำให้ตัวเลขการติดเชื้อของไทยเราสูงขึ้นมาก
ไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าเป็นยังไง ทำไมเราถึงต้องเพิ่มการปกป้องเป็นสองชั้น
-
สายพันธุ์เดลต้าแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม
-
เมื่อมีการระบาดเป็นจำนวนมาก เชื้อแพร่กระจายกันในคนกลุ่มใหญ่ ทำให้ไวรัสเกิดการกลายพันธุ์
-
พบว่าสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ และจับกับเซลล์ปอดได้มากขึ้น
ดังนั้นในช่วงการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า เราควรปกป้องตัวเองในระดับขั้นสูงสุด ด้วยการสวมหน้ากากสองชั้นตามคำแนะนำจากกรมควบคุมโรค โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรคพบว่าวิธีในการใส่หน้ากาก ส่งผลถึงความสามารถในการป้องกันไวรัสโควิด ดังนี้
-
สวมหน้ากากอนามัย 1 ชั้น หากมีช่องโหว่ สามารถป้องกันเชื้อได้ 3%
-
สวมหน้ากากอนานัย 1 ชั้น แนบหน้าสนิท สามารถป้องกันเชื้อได้ 95%
-
สวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้น อย่างถูกวิธี สามารถป้องกันเชื้อได้ 95%
วิธีการสวมหน้ากากสองชั้นที่ไม่ถูกต้อง
-
สวมหน้ากากอนามัย ร่วมกับหน้ากาก N95 ไม่ว่าจะใส่หน้ากากอนามัยไว้ด้านนอกทับ N95 หรือ ไว้ด้านในแล้วทับด้วยหน้ากาก N95 ก็ตาม หน้ากาก N95 ไม่ได้ออกแบบมาให้ใส่ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากหากใส่อย่างถูกต้องแล้ว การหายใจจะทำได้ยากมาก อาจเป็นลม หมดสติได้ หากใส่หน้ากาก N95 อย่างถูกต้องในชีวิตประจำวัน
-
สวมหน้ากากอนามัยทับหน้ากากผ้า จะเกิดรอยรั่วมากจนไม่สามารถป้องกันละอองฝอยได้
-
สวมหน้ากากอนามัยทับกันสองชั้น หน้ากากอนามัยเมื่อใส่ทับกัน 2 ชั้น จะยิ่งมีรู ไม่กระชับใบหน้า
-
หากใส่หน้ากากสองชั้นแล้วไม่กระชับ หรือหายใจไม่ออก ทำให้ต้องจับหรือขยับหน้ากากบ่อยๆ ไม่แนะนำให้ใส่สองชั้น เนื่องจากยิ่งเพิ่มโอกาสให้เชื้อโรคสัมผัสใบหน้ามากขึ้น
วิธีการใส่หน้ากากสองชั้นที่ถูกต้อง
-
ด้านในที่ติดกับใบหน้า ใส่หน้ากากอนามัย กดลวดโลหะให้หน้ากากอนามัยแนบกับสันจมูก คลุมทั้งจมูก ปาก คาง ส่วนด้านนอกใส่หน้ากากผ้า เพื่อช่วยกดทับให้หน้ากากอนามัยแนบกระชับกับใบหน้ามากขึ้น
-
ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุก 6-8 ชั่วโมง หรืออย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ไม่ควรใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ ถึงแม้จะมีความรู้สึกว่า ไม่ได้ออกไปพบความเสี่ยงอะไร แต่การพูดและลมหายใจ มีเชื้อโรคและสิ่งสกปรกออกมาเสมอ ดังนั้นไม่ควรใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ ไม่ควรซักหน้ากากอนามัย เพราะหน้ากากอนามัยออกแบบมาสำหรับใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง การเปียกน้ำและชุ่มสารซักฟอกทำให้เนื้อเยื่อของหน้ากากอนามัยห่างออก สารเคลือบกันน้ำหายไป
-
หน้ากากผ้าด้านนอก ควรซักทุกวัน โดยการซักควรใช้น้ำยาซักผ้าหรือสบู่ และใช้เวลาในการขยี้หรือให้หน้ากากสัมผัสกับน้ำยาซักอย่างน้อย 20 วินาที
-
ไม่ควรฉีดแอลกอฮอล์บนหน้ากากอนามัย ด้านหน้าของหน้ากากอนามัยมีสารเคลือบกันน้ำไว้ การฉีดแอลกอฮอล์ทำให้หน้ากากอนามัยเสียคุณสมบัติการป้องกันน้ำ ไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้
-
การใส่หน้ากากสองชั้น ให้สังเกตอาการของตัวเองว่ายังสามารถหายใจออก หากรู้สึกหายใจไม่ออก ปวดศีรษะ วิงเวียน ง่วงซึม ไม่ควรฝืนใส่สองชั้น
การเลือกซื้อหน้ากากอนามัยควรเลือกซื้อที่ได้มาตรฐาน
หน้ากากควรมีโลหะตรงสันจมูก ให้สามารถกดเข้ารูปแนบกับใบหน้าของแต่ละบุคคลได้ สามารถป้องกันน้ำและความชื้นได้ ป้องกันละอองฝอยได้ หน้ากากที่ได้มาตรฐานจะมีขนาดรูประมาณ 3-5 ไมครอน ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
หน้ากากอนามัยนับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นสิ่งปกป้องชีวิตของเรา
ดังนั้นแนะนำให้ซื้อหน้ากากอนามัยจากร้านขายยาที่เชื่อถือได้ มีระบบจัดซื้อที่ผ่านการตรวจสอบสินค้าก่อนนำมาขายให้ผู้บริโภค เภสัชกรประจำร้านยังสามารถให้คำแนะนำท่านได้หากมีอาการของระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการหรือการปฏิบัติตัวในภาวะการระบาด และหากเลือกซื้อหน้ากากอนามัยทางออนไลน์ ควรเลือกซื้อจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เพื่อความมั่นใจในคุณภาพของหน้ากากอนามัยที่เราจะนำมาใช้ปกป้องชีวิตของเรา
และถ้าหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัสทุกสาขาใกล้บ้าน หรือที่ แอปฯ ALL PharmaSee ดาวน์โหลดฟรีที่
Open this in UX Builder to add and edit content
เอกสารอ้างอิง
- https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=19857&deptcode=brc
- https://ddc.moph.go.th/odpc9/news.php?news=18454&deptcode=odpc9
- https://www.nsm.or.th/other-service/679-online-science/knowledge-inventory/science-news/science-news-science-museum/5184-new-delta-plus-variant.html
- https://www.chula.ac.th/news/41029/
- https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/news/detail/50/1827
- https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue040/believe-it-or-not