ภาวะ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ในผู้สูงวัย

ภาวะ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ โรคยอดนิยม ที่มักจะพบได้บ่อยในวัยเก๋า เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายก็จะยิ่งเสื่อมถอยลง 

โดยภาวะ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ จะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุทั้งเพศชาย และเพศหญิง โดยในประเทศไทยจะพบภาวะ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ของผู้สูงอายุในชุมชนถึงร้อยละ 54.9-60.9 และพบภาวะ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลร้อยละ 50.6 


ชนิดของภาวะกลั้นปัสสาวะที่พบมากสุด คือ

  • ปัสสาวะเล็ด และราดร้อยละ 51.3

  • ปัสสาวะราด ร้อยละ 25.6

  • ปัสสาวะเล็ด ร้อยละ 10.3


นอกจากนั้นแล้วภาวะ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตในประจำวันอย่างมาก เช่น เมื่อมีปัสสาวะเล็ดบ่อยครั้งจะทำให้ผิวหนังเปียกชื้น เกิดการระคายเคือง เกิดผื่น หรือผิวหนังเปื่อย ผิวหนังฉีกขาด ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางผิวหนังอย่างมาก


สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  1. อายุที่เพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่ออายุเพิ่มขึ้นระบบการทำงานของร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมถอยลง เช่นฮอร์โมนที่ลดลง มีการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อเชิงกราน การบีบรัดของกล้ามเนื้อหูรูดเสื่อม

  2. โรคประจำตัวของผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน เบาจืด โรคความดันโลหิตสูง โรคทางสมอง และโรคซึมเศร้า

  3. ท้องผูกเรื้อรัง เพราะก้อนอุจจาระที่แข็งเป็นก้อนบริเวณท่อปัสสาวะ จะส่งผลทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้

  4. การคลอดบุตรหลายคน หรือคลอดบุตรยาก คลอดผิดท่า หรือเด็กมีน้ำหนักเยอะ จนทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนตัว

  5. มีประวัติผ่าตัดอุ้งเชิงกราน ผ่าตัดมดลูก หรือการผ่าตัดต่อมลูกหมาก

  6. มีการอุดกลั้นปัสสาวะ ทำให้มีปัสสาวะตกค้าง อย่างในต่อมลูกหมากของผู้ชาย

  7. มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีการอักเสบติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ

  8. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก


อาการของ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ จะมีอาการปวดปัสสาวะรุนแรงแล้วราดออกมา พบบ่อยในผู้สูงอายุ และผู้ที่มีต่อมลูกหมากโต จะมีอาการปวดปัสสาวะแล้วเล็ด หรือปัสสาวะรดที่นอน 

นอกจากนั้นการไอ หรือจาม ก็จะทำให้มีปัสสาวะเล็ดออกมาได้ เนื่องจากมีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง 


มักจะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะวัยที่หมดประจำเดือน ผู้ที่ผ่านการคลอดบุตร หรือตัดมดลูก  สำหรับในเพศชายถ้าหากผ่านการตัดต่อมลูกหมากแล้วก็จะมีอาการเกิดขึ้นได้เช่นกัน 

หรือมักจะเกิดในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะอย่างต่อมลูกหมาก ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ยังก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ป่วยได้เช่นกัน เพราะจะทำให้มีการเปียกชื้น หรือส่งกลิ่น โดยอาการแบบนี้จะเกิดกับผู้ชายที่มีต่อมลูหมากโต และผู้หญิงที่มีถุงน้ำบริเวณท่อปัสสาวะ


ด้วยสาเหตุนี้กรมการแพทย์จึงแนะนำวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อทำให้ระบบขับถ่ายปัสสาวะทำงานได้อย่างปกติดังนี้

  1. บริหารกล้ามเนื้อหูรูด โดยฝึกขมิบกล้ามเนื้อหูรูดครั้งละประมาณ 5 วินาที และหยุดขมิบ 10 วินาที ทำซ้ำ ๆ ในช่วงเช้า กลางวัน และเย็นทุก ๆ วัน และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ 

  2. ฝึกควบคุมการขับถ่าย ให้ยืดระยะเวลาในการเข้าห้องน้ำให้นานออกไป โดยการกลั้นปัสสาวะให้นานขึ้นก่อนถ่ายปัสสาวะ

  3. ไม่ควรเบ่งปัสสาวะรุนแรง และควรปัสสาวะให้หมด

  4. หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่

  5. ไม่ดื่มน้ำมากเกินไป เพราะจะทำให้สมองบวม ไตทำงานหนัก จนทำให้เกิดปัสสาวะเล็ด

  6. ควรดื่มน้ำ 30-50 มล. ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่ไม่ควรดื่มในปริมาณมากครั้งเดียวจนหมด


หากผู้สูงอายุปฏิบัติได้ตามนี้ก็อาจจะทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ แต่สำหรับผู้สูงอายุที่กำลังเจอกับภาวะ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ก็ยังสามารถหาตัวช่วยเสริม เพื่อลดการเกิดความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน และการเข้าสังคมต่างๆ ได้เช่นกัน


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

[1]ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้สูงอายุ [ ค้นหาเมื่อ 2564 ก.พ. 22]

https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/download/239987/164435/


[2]บทความฟื้นวิชา ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้สูงอายุ[ ค้นหาเมื่อ 2564 ก.พ. 22]

http://www.rtamedj.pmk.ac.th/files/06%20%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%20[%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2].pdf

[3] แนะผู้สูงอายุบริหารกล้ามเนื้อหูรูดช่วยภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้[ ค้นหาเมื่อ 2564 ก.พ. 22]

https://www.thaihealth.or.th/Content/43037-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89.html

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง