การ ดูแลโรคเก๊าท์ ในผู้สูงอายุ ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะโรคเก๊าท์ถือเป็นโรคที่มักจะพบได้ในผู้สูงอายุ เนื่องจากการกินโปรตีนบางอย่างมากจนเกินไป และทำให้ย่อยสลายจนกลายเป็นกรดยูริกที่ไปตกตะกอนในข้อ
ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลัน และผู้สูงอายุจะเป็นโรคเก๊าท์ได้จะต้องมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเฉลี่ยมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ได้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในอัตราส่วน 3:1
เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิงจะทำให้ไตขับกรดยูริกออกมาได้ดี และยังมีการพบความชุกของโรคที่เพิ่มขึ้นตามอายุ โดยในผู้ชายจะถูกพบในอายุมากกว่า 65 ปี และผู้หญิงอายุมากกว่า 85 ปี และผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว
อาการของโรคเก๊าท์
จะเป็นลักษณะของการอักเสบของข้อแบบเฉียบพลัน 1-2 ข้อ อาการจะร้อนบวม แดง กดแล้วจะรู้สึกเจ็บ และปวดรุนแรง ในระยะแรกจะพบข้ออักเสบบริเวณข้อนิ้วเท้า ข้อเท้า และข้อเข่า
หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นก็ขึ้นอยู่กับการรักษาของแต่ละคน ซึ่งการเกิดข้ออักเสบเฉียบพลันจะสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เพราะเกิดจากการอักเสบของข้อ และเนื้อเยื่อรอบข้อแบบซ้ำ ๆ จึงทำให้เกิดปุ่มใต้ผิวหนัง เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า และข้อนิ้วเท้า และถ้าหากผู้ป่วยมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะทำให้ข้อ และเนื้อเยื่อโดยรอบถูกทำลายได้เช่นกัน
สาเหตุของการเกิดโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์ เกิดจากการขับถ่ายของสารพิวรีนของร่างกายผิดปกติ สารพิวรีนก็คือธาตุที่อยู่ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี และเครื่องในสัตว์ ที่ถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริก และถูกขับออกมาเป็นปัสสาวะ ในคนปกติแล้วกรดยูริกจะถูกสร้างขึ้นมาช้าพอที่ไตจะขับออกมา แต่ถ้าหากคนที่กรดยูริกถูกสร้างขึ้นมา แต่ไตขับออกมาได้ช้า หรือเร็วก็ตาม ก็จะทำห้เกิดการสะสมของกรดยูริกมากในร่างกายของเรา ด้วยสาเหตุนี้เองที่ทำให้เกิดการปวดรุนแรงในข้อกระดูก หรือรอบ ๆ ข้อได้ นอกจากนั้นแล้วโรคนี้ยังสามารถถ่ายทอดกันได้ทางพันธุกรรมอีกด้วยเช่นกัน
วิธี ดูแลโรคเก๊าท์ มีดังนี้
-
พบแพทย์เพื่อติดตามการรักษา
-
ไม่ควรหยุดยาเอง หรือกินยาไม่สม่ำเสมอ
-
งดการดื่มเบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-
งดการนวด หรือบีบข้อ
ทั้งนี้ ไม่มีการห้ามทานอาหารใด ๆ ยกเว้นว่าในผู้ป่วยบางคนที่เมื่อทานอาหารบางอย่างแล้วเกิดอาการข้ออักเสบขึ้น ให้หลีกเลี่ยงอาหารนั้น ๆ และถ้าเมื่อกรดยูริกอยู่ในระดับปกติแล้วก็สามารถทานได้ตามปกติ
นอกจากนั้น อีกหนึ่งวิธี ดูแลโรคเก๊าท์ คือ การกินวิตามินซีก็ยังเป็นตัวช่วยที่ทำให้กรดยูริกลดลงได้ แต่ควรจะรับประทานวิตามินซีในขนาดที่พอดี ในผู้ใหญ่เพียง 75-90 มิลลิกรัมเท่านั้น หากทานวิตามินซีสูงมากกว่า 1,000 มิลลิกรัม/วัน อาจจะเป็นการเพิ่มกรดในปัสสาวะได้ และอาจทำให้เกิดการตกตะกอนในท่อไตได้ หรือหากต้องการรับประทานวิตามินซีเพื่อลดระดับกรดยูริกก็ควรจะทานในปริมาณที่น้อย ๆ นอกจากนั้นเรายังสามารถมองหาวิตามินซีที่มีคุณภาพเพื่อช่วยลดระดับกรดยูริกได้อีกด้วย
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพผู้สูงอายุ และการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
Open this in UX Builder to add and edit content
เอกสารอ้างอิง
- https://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_healthy_8_006.html
- https://www.doctor.or.th/article/detail/6481
- https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/424/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B5-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%8C/
- https://ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=205
- https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=667
- https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1217