ผมร่วงง่ายอย่านิ่งนอนใจ ภายในร่างกายอาจมีปัญหา

ผมร่วง

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ปัจจุบันคนปกติทั่วไปจะมีเส้นผมที่ร่วงเป็นประจำทุกวัน วันละ 30-50 เส้น ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป แต่ก็มีหลายคนที่ต้องเจอกับปัญหาผมร่วง ผมบาง ซึ่งนอกจากจะสร้างความกังวลใจในการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว บางทีการผมร่วงครั้งละมากๆ อาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคในร่างกายได้ จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ปัจจุบันคนปกติทั่วไปจะมีเส้นผมที่ร่วงเป็นประจำทุกวัน วันละ 30-50 เส้น ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป แต่ก็มีหลายคนที่ต้องเจอกับปัญหาผมร่วง ผมบาง ซึ่งนอกจากจะสร้างความกังวลใจในการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว บางทีการผมร่วงครั้งละมากๆ อาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคในร่างกายได้

ตัวการที่น่าสงสัยที่สุดก็คือ ‘โรคไทรอยด์’

โรคไทรอยด์ คือโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมหลุดร่วงมากที่สุด เนื่องจากต่อมไทรอยด์จะสร้างฮอร์โมนผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายจะขับไขมันออกมาทางผิวหนังมาก ทำให้หนังศีรษะมัน รากผมอ่อนแอ สัญญาณเตือนภัยแรกเมื่อโรคนี้ถามหาก็คือ เส้นผมที่ร่วงมากผิดปกติ โรคนี้โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากพันธุกรรม และมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1.ไฮโปไทรอยด์  เกิดจากร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาไม่เพียงพอ โดยต่อมไทรอยด์ซึ่งอยู่ด้านหน้าส่วนล่างของคอ ทำหน้าที่ผลิตและส่งฮอร์โมนไทรอยด์เข้าไปในกระแสเลือด

อาการ : ผู้ป่วยมักมีน้ำหนักมาก เพราะร่างกายไม่สามารถเผาผลาญอาหารได้ ส่งผลให้ผมร่วง

2.ไฮเปอร์ไทรอยด์ เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

อาการ : ผู้ป่วยจะผอมมาก คอโต ตาโปน ตัวเหลืองและผมร่วงในที่สุด

วิธีการรักษาอาการผมร่วงจากไทรอยด์

ไทรอยด์ทั้ง 2 แบบ สามารถทำการรักษาได้หลายวิธีร่วมไปกับการรักษาอาการผมร่วง ทั้งการรับประทานยาและวิตามินเสริม การใช้เลเซอร์ยิงลงบนหนังศีรษะเพื่อกระตุ้นเซลล์รากผมที่เสื่อมสภาพ และการใช้แสงสีแดงที่มีลักษณะเป็นหลอด LED จำนวนมากฉายลงบริเวณเส้นผมและหนังศีรษะเพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์รากผมและเร่งการหมุนเวียนของโลหิต

ทั้งนี้ นอกจากผู้ที่มีอาการผมร่วงผิดปกแล้วแล้ว หากใครที่น้ำหนักลด น้ำหนักเพิ่ม ใจสั่น อารมณ์หงุดหงิดบ่อยครั้ง หรือมีระบบการทำงานของร่างกายที่ผิดดสังเกต ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคต่อไป