ฮีทสโตรก อาการเป็นอย่างไร ปฐมพยาบาลอย่างไรเมื่อพบผู้ป่วย

ฮีทสโตรก อาการเป็นอย่างไร

ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นทุกปี โดยจากข้อมูลจากการเฝ้าระวังการเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระหว่างเดือน พฤษภาคมระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2564 มีรายงานผู้เสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน จำนวนทั้งสิ้น 234 ราย ซึ่ง ฮีทสโตรก เป็นอีกหนึ่งโรคที่มาพร้อมกับอุณหภูมิสูงในช่วงหน้าร้อน โดยหลายคนอาจจะมีความวิตกกังวลถึงอันตรายที่ส่งผลต่อร่างกาย เพื่อให้เข้าใจถึงอาการและสาเหตุ ของการเกิดโรคลมแดด รวมไปถึงรู้วิธีปฏิบัติเมื่อพบเจอผู้ป่วย

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ ฮีทสโตรก อาการเป็นอย่างไร  และปฐมพยาบาลอย่างไรเมื่อพบผู้ป่วยเป็นโรคลมแดด มาฝากกันค่ะ

 

ทำความรู้จักกับโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke)

ฮีทสโตรก (Heatstroke) คือ ภาวะที่เกิดจากร่างกายมีอุณหภูมิสูงจากอากาศร้อนมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถระบายอากาศได้ทันที ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากอุณหภูมิของร่างกายของสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส พบได้บ่อยที่สุดในช่วงฤดูร้อนโดยเมื่อมีอาการ หรือพบผู้ป่วยฮีทสโตรก สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะหากไม่ได้รับการรักษาโดยทันที อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น สมองหัวใจ ไต และกล้ามเนื้อ และยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง หรือ เสียชีวิตได้

 

ฮีทสโตรก สาเหตุเกิดจากอะไร

ฮีทสโตรก สาเหตุเกิดจากอะไร

 

  1. สภาพอากาศที่ร้อนจัด

ในภาวะแวดล้อมที่มีอากาศร้อน มักจะทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ซึ่งบางคนอาจจะไม่รู้ตัว เพราะคุ้นชินกับสภาพอากาศ แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส อาจจะทำให้ระบายความร้อนไม่ทัน จนนำไปสู่การเกิดอาการฮีทสโตรกได้นั่นเอง 

  1. อยู่กลางแดด ที่มีอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน

การอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอาการฮีทสโตรกได้เพราะว่าร่างกายจะได้รับความร้อนสูงสุด จนไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทันที

 

ฮีทสโตรก มีอาการอย่างไร

1. อุณหภูมิร่างกายสูง

ตัวร้อน มีอุณหภูมิในร่างกายสูงมากจนไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทันที

2. มีความผิดปกติทางระบบประสาท

มีอาการสับสน กระสับกระส่าย พูดไม่ชัด หงุดหงิด เพ้อ ชัก ตอบสนองช้า

3. ต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติ

ระบบการทำงานของต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ไม่มีเหงื่อออก

4. คลื่นไส้อาเจียน

ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย มีอาการคลื่นไส้สลับกับอาเจียน

5. สีผิวเปลี่ยนไป

ผิวหนังแห้งและร้อน สีผิวเปลี่ยนกลายเป็นสีแดง

6. หัวใจเต้นเร็ว

ความร้อนทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ซึ่งส่งผลให้ หัวใจเต้นเร็ว มีอาการใจสั่น

7. ปวดศีรษะ

มีอาการปวดศีรษะ หน้ามืด อาจถึงขั้นชักกระตุก เกร็ง และหมดสติได้

หากใครมีอาการรุนแรงหรือหมดสติควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อทำการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

สามารถปฐมพยาบาลอย่างไร หากพบเจอผู้ป่วย ฮีทสโตรก

  1. นำคนป่วยเข้าที่ร่ม ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่โดนแสงแดด เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายลง
  2. ถอดเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นออกให้หมด เช่น เสื้อคลุม หรือ ถุงเท้า
  3. นอนราบ ยกเท้าสูงสองข้าง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  4. ดื่มเกลือแร่ หรือ เครื่องดื่มที่ให้ความชุ่มชื่นต่อร่างกาย
  5. เช็ดตัว ประคบเย็นตามซอกคอ ตัว รักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก หรือเป่าลมเย็นเพื่อให้ร่างกายสามารถระบายความร้อนได
  6. โทรแจ้งสายด่วน 1669 หรือ นำส่งโงพยาบาลทันท 

 

กลุ่มเสี่ยงที่อาเกิดอาการ ฮีทสโตรก 

 

กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิด อาการฮีทสโตรก

 

  1. ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ออกกำลังกาย
  2. เด็กเล็กและผู้สูงอายุ ที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดี
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
  4. ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ เพราะร่างกายจะตอบสนองต่อความร้อนที่ได้รับช้ากว่าปกติ
  5. ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 
ป้องกันตัวเองอย่างไรไม่ให้เป็น ฮีทสโตรก

 

ป้องกันตัวเองอย่างไรไม่ให้เป็น ฮีทสโตรก

 

เพื่อช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลียจากความร้อน และจากอาการฮีทสโตรกการหาวิธีป้องกันตัวเองเบื้องต้นที่สามารถทำได้ หากเมื่อต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูง หรือจำเป็นต้องใช้ชีวิตประจำวันกลางแจ้งเป็นเวลานาน เช่น 

  • ดื่มน้ำเปล่ามากขึ้น โดยเฉพาะตอนออกกำลังกาย หรือ อยู่กลางแจ้ง 
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี มีสีโทนอ่อนไม่ดูดแสงแดด เช่น สีฟ้าหรือสีเหลือง ที่มีผลการวิจัยหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ในประเทศสเปนเผยว่าเป็นสีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีได้ 
  • หลีกเลี่ยงแสงแดดระหว่างเวลา 11.00 – 15.00 น. 
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เนื่องจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ได้ 
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแดดเป็นเวลานาน เช่น การวิ่งในตอนกลางวัน 
  • หากอยู่บ้านในวันที่อากาศร้อนจัด ให้ปิดม่าน และปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำความร้อน 
  • เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะสุขภาพในระยะยาว (เช่น เบาหวาน หรือ โรคหัวใจ) มีความเสี่ยงต่ออาการอ่อนเพลียจากความร้อนหรือลมแดด ควรได้รับการดูแลและสังเกตการณ์เป็นพิเศษ

 

สรุป

การอยู่ในสภาวะอากาศที่ร้อนจัดเป็นเวลานาน จนไม่สามารถปรับสภาพได้ทัน อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ ดังนั้น ควรสังเกตอาการตัวเอ และคนรอบข้าง ถ้าหากมีอาการเสี่ยงที่เกิดจากโรคลมแดด ควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้น และนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด 

 

ที่มา

Heatstroke จาก Mayoclinic
อาการอ่อนเพลียจากลมร้อน และโรคลมแดด จาก Nhs
หน้าร้อนระวังฮีทสโตรก จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
ฮีทสโตรกจากอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

[/ux_text]
All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง