อันตราย! หากใช้ กัญชา ร่วมกับยาที่ทานประจำ อาจเกิด “ภาวะยาตีกัน”

กัญชา

กัญชา เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ซึ่งในใบกัญชามีสารเคมีกลุ่ม cannabinoids เป็นสารออกฤทธิ์ที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ เช่นต้านการอักเสบ ทำให้ผ่อนคลาย และทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์เช่นคลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง ใจสั่น ความดันโลหิตตก หรือทำให้เกิดอาการเคลิ้ม ควบคุมตัวเองไม่ได้  ซึ่งการใช้ กัญชา แม้จะใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ก็ทำให้เกิดอาการเสพติดได้ จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญเช่นแพทย์ หรือเภสัชกร


          สารเคมีกลุ่ม Cannabinoids ในกัญชา ประกอบด้วยสารหลักสองชนิด คือ THC และ CBD ซึ่งสารทั้งสองชนิด เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะผ่านการเปลี่ยนแปลงที่ตับ ดังนั้น การใช้กัญชาร่วมกับยาหลายชนิดที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่ตับ จึงอาจมีอันตราย ทั้งจากการเสริมฤทธิ์กันของ กัญชา และยาอื่น พิษต่อตับที่เพิ่มขึ้น และอาการข้างเคียงทั้งของกัญชาและยาที่รับประทานร่วมกันที่เพิ่มมากขึ้น


ฤทธิ์ของ กัญชา ต่อร่างกาย ได้แก่

ประโยชน์ เช่น เพิ่มความอยากอาหาร ระงับปวด ต้านอาการชัก ลดการอักเสบ

โทษ – เช่น ปากแห้งใจสั่น ความดันต่ำ กดการหายใจ มีผลต่อความจำและการควบคุมตัวเอง รบกวนการเคลื่อนไหว  คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ

นอกจากนี้ การใช้ กัญชา เป็นระยะเวลานาน จะส่งผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด รบกวนการหลังของฮอร์โมนต่าง ๆ ส่งผลต่อการทำงานของสมองและการรับรู้ อาจทำให้มีภาวะคลื่นไส้อาเจียนเรื้อรัง และก่อให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ประจำเดือนมาไม่ปกติ และการสูบกัญชา ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดอีกด้วย


ยาที่ควรใช้อย่างระมัดระวัง เมื่อใช้ร่วมกับ กัญชา

  1. ยาที่ เพิ่มความเป็นพิษต่อตับ เมื่อใช้ร่วมกับกัญชา เช่นยากันชัก Valproic Acid, ยาฆ่าเชื้อไวรัส Favipiravir, แอลกอฮอล์, ยาลดไขมันกลุ่มสแตติน, ยาพาราเซตามอล
  2. ยาที่ เสริมฤทธิ์กดประสาท ทำให้ง่วง เมื่อใช้ร่วมกับกัญชา เช่น แอลกอฮอล์ ยาแก้ปวดมอร์ฟีน ยานอนหลับ
  3. ยาที่ เพิ่มอาการใจสั่น ความดันโลหิตตก เมื่อใช้ร่วมกับกัญชา เช่น ยาลดอาการคัดจมูก กาแฟ ชา
  4. ยาที่ ฤทธิ์และอาการข้างเคียงมากขึ้น เมื่อใช้ร่วมกับกัญชา เช่น
  • ยาหัวใจ Amiodarone, Verapamil, Diltiazem
  • ยายับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด/ละลายลิ่มเลือด Warfarin, Clopidogre, Cilostazoll,
  • ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Erythromycin, Clarithromycin,
  • ยาฆ่าเชื้อรา Itraconazole, Fluconazole, Ketoconazole,
  • ยาฆ่าเชื้อไวรัส Efavirenz, Protease inhibitors
  • ยาช่วยปรับอารมณ์ รักษาโรคซึมเศร้า โรคจิตเภท
  • ยาแก้ปวด แก้ปวดไมเกรน Tramadol, Ergotamine

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนที่ควรระมัดระวังอย่างมากเมื่อต้องใช้กัญชา ได้แก่

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยจิตเวช
  • ผู้ป่วยที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด warfarin เนื่องจากเพิ่มโอกาสในการทำให้เกิดภาวะเลือดเหลว เลือดหยุดยาก และอาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้
  • ห้ามใช้กัญชาในคนอายุต่ำกว่า 20 ปีเนื่องจากมีผลรบกวนการทำงานของสมอง และการพัฒนาด้านอารมณ์
  • ห้ามใช้กัญชา ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร เนื่องจากกัญชาสามารถผ่านรกและน้ำนมไปสู่ทารกทำให้เกิดอันตรายได้
  • ห้ามใช้กัญชาในผู้สูงอายุ เพราะเสี่ยงต่อการทำให้ใจสั่น ความดันโลหิตตก

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการใช้กัญชาอย่างแพร่หลาย ทั้งเพื่อทางการแพทย์และเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ แต่อันตรายจากกัญชาต่อร่างกายยังคงมีอยู่มาก ซึ่งการใช้อย่างไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดผลเสียทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ดังนั้น ผู้ป่วยที่ต้องการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้งานทุกครั้ง และใช้ตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรอย่างเคร่งครัด

 

อันตราย หากใช้ กัญชา ร่วมกับยาที่ทานประจำ

 


อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยาสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  • Viewacademic   // (no date) ViewAcademic. Available at: https://www.fda.moph.go.th/sites/Narcotics/SitePages/ViewAcademic.aspx?IDitem=1 (Accessed: March 17, 2023).
  • Guidance on Cannabis for Medical Use. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3/2563

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา