เรียกให้ถูกยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยาแก้อักเสบ

ยาแก้อักเสบ ไม่ใช่ปฏิชีวนะ

หนึ่งในความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับยาที่หลายคนอาจยังไม่ทราบนั่นคือ ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ (ที่เรามักจะคุ้นเคยในยารูปแบบแคปซูลสีฟ้า-เขียว) ซึ่งไม่ใช่ยาตัวเดียวกันกับ ยาแก้อักเสบ แต่ในปัจจุบันนั้น หากเข้าไปในกระทู้ถาม-ตอบ รวมถึงหลายคนไปซื้อยาที่ร้าน มักจะเรียกยาปฏิชีวนะว่ายาแก้อักเสบอยู่บ่อยครั้ง
 

บทความนี้ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จะพาทุกคนไปทำความรู้จัก และเรียกให้ถูก ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ “อาการแบบนี้ต้องใช้ยาอะไร” กันค่ะ  

 

ยาปฏิชีวนะ ที่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็น ยาแก้อักเสบ

ยาปฏิชีวนะ ที่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นยาแก้อักเสบ

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างยาปฏิชีวนะ และ ยาแก้อักเสบ 

เหตุผลที่เกิดข้อเข้าใจผิดระหว่างยา 2 ชนิดนี้แม้จะไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่นอกจากการเรียกชื่อยาผิด ๆ แบบปากต่อปากแล้วนั้น ในมุมมองของผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ แล้วเข้าใจผิดว่าเป็นยาแก้อักเสบ อาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่ได้ทราบว่าอาการที่ตนเองเป็นอยู่นั้นเกิดจากสาเหตุอะไรอย่างแน่ชัด ซึ่งหากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การทานยาฆ่าเชื้อเข้าไปจะสามารถช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ให้หายได้ 

และเมื่อมีความเข้าใจผิดตั้งแต่ต้นอยู่แล้วว่าอาการเจ็บป่วยที่ตนเป็นอยู่นั้น เป็นเพียงอาการอักเสบทั่วไป การทานยาฆ่าเชื้อ (Antibiotic) แล้วรักษาอาการเจ็บที่ตนเองเป็นอยู่ให้ดีขึ้นได้ จึงทำใหเรียกยาปฏิชีวนะว่ายาแก้อักเสบได้  

 

ความเข้าใจผิดระหว่างยาปฏิชีวนะกับ ยาแก้อักเสบ

 

ยกตัวอย่างกรณีนาย A มีอาการเจ็บคอ แล้วเข้าใจว่าตนเองคออักเสบ เมื่อเข้าไปร้านยาเพื่อซื้อยามาทาน เภสัชกรได้จ่ายยาให้เป็นกลุ่มยาฆ่าเชื้อ นาย A ซึ่งไม่ได้เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างยาปฏิชีวนะ กับยาแก้อักเสบเป็นทุนเดิม เมื่อทานยาจนครบกำหนดแล้วอาการเจ็บคอดีขึ้น จึงเข้าใจว่ายาที่ตนกินเข้าไปนั้นเป็นยาแก้อักเสบ เพราะเข้าไปรักษาอาการเจ็บคอ ที่ตนเองเข้าใจว่าคืออาการคออักเสบได้นั่นเอง  

จะเห็นได้ว่าอาการเจ็บป่วย แม้จะเป็นเพียงอาการเจ็บคอ

 

ทำความรู้จัก ยาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ 

ยาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ (Antibiotic) คือ กลุ่มยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ หรือยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียเท่านั้น ไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ ซึ่งยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการแก้ปวดหรือแก้อาการอักเสบ 

การทำงานของยาฆ่าเชื้อนั้นจะใช้รักษาในกลุ่มอาการที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะแสบขัดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น 

 

ยาปฏิชีวนะใช้รักษากลุ่มอาการที่เกิดจากแบคทีเรีย

 

ตัวอย่างยาในกลุ่มยาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ 

  • แอมพิซิลลิน (Ampicillin) 
  • อะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) 
  • ออกเมนติน (Augmentin) 

ข้อบ่งชี้ และวิธีการใช้ยาปฏิชีวนะ 

ยาปฏิชีวนะ ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เนื่องจากการใช้ยาในกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่แน่ชัดว่าสาเหตุของอาการป่วยที่เป็นอยู่นั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  

วิธีการทานยาฆ่าเชื้อ ควรรับประทานหลังอาหารเพื่อป้องกันการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร และควรทานต่อเนื่องจนหมดเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา

ข้อควรระวังในการใช้ยาปฏิชีวนะ 

ควรใช้ยาฆ่าเชื้อภายใต้คำสั่ง และคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดทานยาเองเนื่องจากอาจทำให้กลับมาป่วยอีก หรืออาจส่งผลเสียต่อการรักษาในอนาคตได้ และไม่ควรทานยาปฏิชีวนะพร่ำเพื่อเพราะอาจกระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์ และเกิดการดื้อยาตามมาได้ด้วยเช่นกัน  

อ่านรายละเอียดบทความ “ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ยาฆ่าเชื้อ” ได้ที่นี่  

 

ทำความรู้จักกับ “ยาแก้อักเสบ” 

ยาแก้อักเสบ(Anti-inflammatory Drugs) เป็นยาที่มีฤทธิ์ในการลดอาการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาอาการปวด เช่น การปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เคล็ดขัดยอก กล้ามเนื้ออักเสบ เส้นเอ็นอักเสบ ฯลฯ  

แต่อย่างไรก็ตาม ยาแก้อักเสบไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส ดังนั้นยาแก้อักเสบจะช่วยบรรเทาอาการปวดในกรณีที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การปวดหลังจากการยกของหนัก การปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น 

 

 การทาน ยาแก้อักเสบ เพื่อบรรเทาอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ

 

ตัวอย่างยาในกลุ่มยาแก้อักเสบ 

  • แอสไพริน (Aspirin) 
  • ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) 
  • ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) 

ข้อบ่งชี้ และวิธีใช้ ยาแก้อักเสบ  

ยาแก้อักเสบจะใช้เมื่อมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้ของการอักเสบ รับประทานหลังอาหารทันที เพื่อป้องกันการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร  

ข้อควรระวังในการใช้ ยาแก้อักเสบ 

  • อาจเกิดอาการระคายเคืองในลำไส้หรือกระเพาะ  
  • อาจเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร 
  • มีอาการหายใจลำบาก หายใจติดขัด 
  • ไม่แนะนำให้สตรีมีครรภ์ใช้ยา 

หากมีอาการดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที 

 

จะเกิดอะไรขึ้นหากเรียกยาผิด จากยาปฏิชีวนะเป็นยาแก้อักเสบ 

ผลที่จะตามมาสามารถเกิดขึ้นได้หลายกรณี ตั้งแต่การสื่อสารที่เข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่างบุคคล ไปจนถึงส่งผลกระทบต่อระบบภายในร่างกาย เพราะหากซื้อยามาทานด้วยตัวเองบ่อยครั้ง อาจทำให้เชื้อเกิดการดื้อยา เกิดโรคแทรกซ้อนจากการใช้ยา และ เสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ยาได้นั่นเอง  

จึงเป็นเหตุผลว่า หากเกิดอาการไม่สบาย ไม่ควรซื้อยามาทานเองเนื่องจาก จะเกิดผลเสียต่อร่างกายหากรับประทานยาที่ไม่ถูกโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มยาปฏิชีวนะที่หากทานเข้าไปบ่อย ๆ เกินความจำเป็นอาจก่อนให้เกิดอาการเชื้อดื้อยาตามมาได้ ดังนั้นควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือซื้อกับเภสัชกรจากร้านยาที่น่าเชื่อถือเท่านั้น 

 

สรุปความแตกต่างระหว่างยาปฏิชีวนะ และ ยาแก้อักเสบ 

จากทั้งหมดที่ได้กล่าวไปข้างต้นสามารถสรุปออกมาเป็นตารางได้ ดังนี้  

  ยาปฏิชีวนะ  

(Antibiotic) 

ยาแก้อักเสบ

(Anti-inflammatory Drugs) 

ลดอาการอักเสบ     
ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย     
ฆ่าเชื้อไวรัส     
จำเป็นต้องทานต่อเนื่องจนหมด     

ตารางแสดงความแตกต่างระหว่างยาปฏิชีวนะ และยาแก้อักเสบ 

 

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่อาจมีข้อสงสัย และเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างยาปฏิชีวนะ และยาแก้อักเสบ มากยิ่งขึ้น อย่าลืมแชร์บทความดี ๆ ไปให้คนที่คุณรักกันนะคะ ด้วยความปรารถนาดีจากร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส 

 

ที่มา 

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการกินยาฆ่าเชื้อ จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ยาแก้อักเสบไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อ จาก โรงพยาบาลศิริราช

ยาแก้อักเสบ=ยาฆ่าเชื้อ จริงหรือ? จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง