หลอดลมอักเสบ เช็กอาการของโรคร้ายที่เกิดได้จากการใช้ชีวิตประจำวัน

เช็กอาการ หลอดลมอักเสบ โรคร้ายที่เกิดได้จากการใช้ชีวิตประจำวัน

อาการไอที่เกิดจากอาการ หลอดลมอักเสบ และมีเสมหะ ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันไม่สะดวก อาจมีอาการไอเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น หากพบว่าเป็น “โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน” ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสและมักจะหายไปเอง โดยต่างจาก “โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง” ที่อาจไม่สามารถรักษาให้หายถาวรได้ จึงจำเป็นต้องดูแลตนเองเพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น 

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส มีข้อมูลเกี่ยวกับ เช็กอาการ “หลอดลมอักเสบ” โรคร้ายที่เกิดได้จากการใช้ชีวิตประจำวัน มาแชร์กัน 

 

โรคหลอดลมอักเสบ Bronchitis คืออะไร

Bronchitis คือ โรคหลอดลมอักเสบ เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ซึ่งเป็นท่อนำลม หรือ อากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอด ส่งผลให้เยื่อบุหลอดลมบวม ผู้โดยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบมักจะมีอาการไอ มีเสมหะข้น หอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม โรคหลอดลมอักเสบอาจเป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังก็ได้ 

 

โรคหลอดลมอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchitis)

มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยเชื้อดังกล่าวจะไปก่อกวนระบบการทำงานของร่างกาย ทำให้เกิดอาการอักเสบ อาการบวมของเยื่อ เมือก ที่บุทางเดินหายใจ โดยปกติแล้วอาการหลอดลมอักเสบเฉียบพลันจะหายไปเอง และมีอาการไม่เกิน 3 สัปดาห์ 

  1. โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis)

สาเหตุไม่ได้มาจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากระบบทางเดินหายใจได้รับสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างเรื้อรัง รวมไปถึงอาจเกิดจากโรคภูมิแพ้ โรคหืด (Asthma) หรือเกิดจากการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะมีอาการเกิน 3 สัปดาห์ 

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลมมีอะไรบ้าง

  1. ความเสี่ยงของโรค หลอดลมอักเสบ เฉียบพลัน

สามารถเกิดได้จากความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ดังนี้ 

  • ด้านพฤติกรรม เช่น ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ การไปอยู่ในที่ที่แออัดสูง เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น 
  • ด้านร่างกาย เช่น เป็นผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคต่ำ 
  1. ความเสี่ยงของโรค หลอดลมอักเสบ เรื้อรัง

มักจะเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้จากความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ดังนี้ 

  • ด้านร่างกาย ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือมีปัญหาเกี่ยวกับภาวะการหายใจ 
  • ด้านสภาพแวดล้อม อยู่ใกล้กับพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศ เช่น ควัน ฝุ่นละออง หรือสารเคมี รวมไปถึงการการได้รับควันบุหรี่เรื้อรัง หรืออยู่ใกล้คนที่สูบบุหรี่
  • ด้านอื่น ๆ ผู้ที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกันกับมลพิษทางอากาศ เช่น การทำเหมืองแร่ เป็นต้น

 

อาการ หลอดลมอักเสบ มีลักษณะอย่างไร

 

อาการ หลอดลมอักเสบ เป็นอย่างไร

 

  1. ไอต่อเนื่อง ร่างกายจะตอบสนองด้วยการไอเพื่อพยายามล้างเสมหะออก หากมีเสมหะหรือการอักเสบในระบบทางเดินหายใจ อาจนานเป็นเวลา 1-3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอาการหลักของโรคหลอดลมอักเสบ
  2. มีเสมหะ เกิดจากการที่ระบบทางเดินหายใจระคายเคือง มีเสมหะใส ขาว เหลือง หรือเขียว
  3. อาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกเมื่อไอ
  4. น้ำมูกไหล
  5. มีไข้ หายใจถี่ 

 

วิธีการดูแลตัวเองเมื่อเป็น โรคหลอดลมอักเสบ

 

ทำอย่างไรเมื่อเป็นโรค หลอดลมอักเสบ

 

  1. ดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพราะน้ำเป็นยาละลายเสมหะที่ดี โดยสามารถเติมน้ำผึ้งลงในเครื่องดื่มอุ่น ๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ 
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามอยู่ที่บ้านและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น หากมีไข้สูงหรือรู้สึกไม่ดีที่จะทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ 
  3. รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) หรือ ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อช่วยระงับความเจ็บปวดและลดไข้
  4. ปิดปากและจมูกด้วยทิชชูเมื่อไอหรือจาม แล้วทิ้งลงในถังขยะโดยเร็วที่สุดเพื่อลดการกระจายของเชื้อโรคและเชื้อไวรัส
  5. ล้างมือเป็นประจำด้วยน้ำและสบู่ เพื่อเป็นการรักษาสุขอนามัยที่ดี 

 

เมื่อมีอาการ หลอดลมอักเสบ เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

 

ยาที่ใช้ในการรักษาโรค หลอดลมอักเสบ

 

  1. มีอาการไอเรื้อรังเวลานานกว่า 3 สัปดาห์
  2. มีไอเป็นเลือด
  3. ไอมากและส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ
  4. มีไข้สูงกว่า 38 องศา
  5. หายใจดังเสียงฮืด ๆ หรือหายใจถี่

 

สำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจใช้ยาหรือ ให้การรักษาเกี่ยวกับระบทางเดินหายใจสำหรับโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังเพิ่มเติม 

 

ที่มา:  

Bronchitis จาก Cleveland Clinic  

เมื่อคุณหมอบอกว่าเป็นหลอดลมอักเสบ จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล 

โรคหลอดลมอักเสบ จาก งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

Bronchitis จาก NHS 

 

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง