ปวดหัวข้างขวา แก้ยังไง ปวดหัวแบบไหนอันตรายต้องรีบพบแพทย์

ปวดหัวข้างขวา แก้ยังไง

อาการปวดหัวมีหลายประเภทด้วยกัน แต่เพียงบางประเภทเท่านั้นที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวข้างขวา หรือ ปวดหัวข้างเดียวโดยสาเหตุจะแตกต่างกันออกไป อาการเหล่านี้นอกจากสร้างความไม่สบายใจในชีวิตประจำวันแล้ว ยังเป็นอาการเตือนเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพได้ 

บทความนี้ ร้านยาเอ็กซ์ต้า พลัส จึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ ปวดหัวข้างขวา แก้ยังไง ปวดหัวแบบไหนอันตรายต้องรีบพบแพทย์ มาแบ่งปันกัน 

 

ลักษณะอาการปวดหัวข้างขวา

อาการปวดหัวข้างขวา อาจทำให้เกิดอาการปวดตุบ ๆ หรือปวดอย่างรุนแรงในบริเวณต่าง ๆ รวมถึง ฐานกะโหลก คอ ฟัน หรือตา

 

อาการปวดหัวประเภทไหนที่ส่งผลต่อซีกขวา

ไมเกรน และ อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์เป็นสาเหตุที่เป็นไปได้ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดหัวข้างขวา รวมไปถึงอาการปวดหัวจากความตึงเครียด 

  1. ไมเกรน (Migraines)

อาการไมเกรนอาจเกิดขึ้นที่ศีรษะข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง โดยมีปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดไมเกรน เช่น ความไวต่อแสงและเสียง คลื่นไส้และอาเจียน ตาพร่ามัว หรือรู้สึกชา เป็นต้น 

  1. ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache)

เป็นอาการเจ็บปวดรุนแรงและมักเกิดขึ้นรอบดวงตาข้างหนึ่ง อาจแผ่กระจายไปยังบริเวณอื่นของศีรษะและใบหน้า ตลอดจนคอและไหล่ รวมถึงอาการอื่น ๆ เช่น เหงื่อออกบนใบหน้า ผิวซีดหรือแดง ตาแดงหรือน้ำตาไหล รู้สึกกระสับกระส่าย เป็นต้น 

  1. อาการปวดหัวจากความตึงเครียด (Tension Headaches)

เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งพบใน 75 %ของคนทั่วไป มักเกิดกับศีรษะทั้ง 2 ข้าง แต่บางคนอาจปวดหัวข้างขวา หรือ ซ้าย เพียงข้างเดียว

 

ปวดหัวข้างขวาเกิดจากสาเหตุอะไร

 

สาเหตุของอาการปวดหัวข้างขวา

 

  1. ด้านการดำเนินชีวิตทั่วไป

เช่น ความเครียด ความเหนื่อยล้า ปัญหากล้ามเนื้อคอ เป็นต้น 

  1. การติดเชื้อและภูมิแพ้

การติดเชื้อไซนัสและภูมิแพ้อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ อาการปวดหัวที่เกิดจากการติดเชื้อไซนัสเป็นผลมาจากการอักเสบ ซึ่งนำไปสู่แรงกดและความเจ็บปวดบริเวณหลังโหนกแก้ม และหน้าผาก 

  1. ยาและการใช้ยาเกินขนาด

การใช้ยารักษาอาการปวดหัวมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ เช่น 

  • ยาแก้ปวดทั่วไป เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะจากการใช้ยามากเกินไปเมื่อรับประทาน 15 วันขึ้นไปต่อเดือน 
  • ยารักษาโรคไมเกรน ประเภท Triptans, Ergotamines และ Opioids อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวเมื่อใช้ 10 วันขึ้นไปต่อเดือน
  • คาเฟอีน การได้รับคาเฟอีนมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน อาจทำให้ปวดหัวได้ 

เนื่องจากการใช้ยาเหล่านี้ในปริมาณสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของสมอง ซึ่งนำไปสู่อาการปวดศีรษะ 

  1. สาเหตุจากระบบประสาท

  • โรคประสาทท้ายทอย ในส่วนของเส้นประสาทท้ายทอย 2 เส้นในกระดูกสันหลังของคอส่วนบนที่วิ่งผ่านกล้ามเนื้อไปยังหนังศีรษะ การระคายเคืองของเส้นประสาทเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย หรือรู้สึกเสียวซ่า มักจะทำให้ปวดหัวข้างเดียว 
  • หลอดเลือดแดงขมับอักเสบ (Temporal Arteritis) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่อักเสบ (Giant Cell Arteritis; GCA) เป็นภาวะที่มีหลอดเลือดแดงอักเสบหรือเสียหายซึ่งส่งเลือดไปเลี้ยงศีรษะและสมอง แรงกดนี้อาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ เช่น ปวดไหล่หรือสะโพก ปวดกราม เป็นต้น
  • โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal Neuralgia) เป็นภาวะเรื้อรังที่ส่งผลต่อเส้นประสาทที่รับความรู้สึกจากใบหน้าไปยังสมอง การกระตุ้นเพียงเล็กน้อยบนใบหน้าอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดได้ 
  1. สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ปวดหัวข้างขวา

  • กรรมพันธุ์ 
  • ความวิตกกังวลและความผิดปกติทางอารมณ์ 
  • โรคหยุดหายใจขณะหลับ หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea) ทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนและเกิดคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด จนถึงระดับที่สมองต้องมีการสั่งการให้หายใจ ทำให้สมองถูกกระตุ้นให้ตื่นอยู่ตลอดเวลา
  • พฤติกรรมการกัดฟันและกรามแน่น

 

7 วิธีแก้อาการปวดหัวข้างขวาด้วยตนเอง

 

วิธีแก้อาการปวดหัวข้างขวาด้วยตนเอง

 

  1. ประคบอุ่นที่หลังคอ เพื่อลดอาการปวดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 
  2. อาบน้ำอุ่น จะทำให้รู้สึกผ่อนคลายและสบายตัวมากขึ้น
  3. ปรับเปลี่ยนท่าทางเพื่อลดความตึงเครียดจากศีรษะ คอ และไหล่
  4. การพักงีบ 15 – 20 นาที จะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวที่เกิดจากความเหนื่อยล้าได้ 
  5. ปล่อยผม ไม่รวบตึงเป็นหางม้า หรือ ถักเปีย ทำมวยผม 
  6. หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้ปวดหัว ได้แก่
    • แอลกอฮอล์ เพราะส่วนประกอบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มี สารอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้อีกทั้งแอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์กับไต ส่งผลให้เกิดการสูญเสียของเหลวออกจากร่างกาย หรือการปัสสาวะ โดยนำไปสู่การขาดน้ำ และอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ 
    • คาเฟอีน หากมีอาการปวดหัวบ่อย ๆ ให้ค่อย ๆ ลดปริมาณคาเฟอีนลง 
    • ผงชูรส เนื่องจากผงชูรสเป็นกรดอะมิโนกระตุ้นที่จับกับการรับ MNDA ในสมอง การกระตุ้นนี้นำไปสู่การปลดปล่อยไนตริกออกไซด์ ซึ่งจะนำไปสู่การขยายหรือขยายหลอดเลือดรอบ ๆ กะโหลกศีรษะ รวมถึงอ้างอิงจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ที่ Cephalalgia พบว่าผู้ที่บริโภคผงชูรสในปริมาณสูง จะมีความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
  7. บำบัดด้วยกลิ่นหอม (Aromatherapy) อย่างการใช้มันหอมระเหย (Diffusing Oils) กลิ่นน้ำมันยูคาลิปตัส ลาเวนเดอร์ หรือสะระแหน่ เพื่อใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดหัวจากความตึงเครียด

 

เมื่อปวดหัวข้างขวาแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์

 

ปวดหัวข้างขวาแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์

 

หากพบว่าความถี่หรือความรุนแรงของอาการปวดศีรษะมีการเปลี่ยนแปลง การมีอาการปวดศีรษะที่กินเวลานานกว่า 2 วัน หรือมีอาการปวดศีรษะมากกว่า 15 ครั้ง ใน 1 เดือน แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ รวมถึงอาการดังต่อไปนี้

  1. อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นกะทันหันหรือรุนแรง
  2. อาการปวดหัวที่ “แย่ที่สุด” ที่เคยประสบมา
  3. อาการอ่อนแรงหรือมึนงงที่มาพร้อมกับอาการปวดหัว
  4. การสูญเสียความสมดุล หรือ การสั่งการอื่น ๆ 

นอกจากนี้ อาจไปพบแพทย์หากอาการปวดหัวเกิดขึ้นกะทันหันและรุนแรง ตื่นกลางดึก หรือแย่ลงเรื่อย ๆ เป็นต้น 

 

ที่มา: 

สสส. 

Medical News Today 

Healthline 

Drinkaware 

Verywellhealth 

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง