3 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการรักษา โรคหวัด

โรคหวัด

โรคหวัด โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส และมักจะเกิดในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ช่วงหน้าฝน หรือในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ซึ่งวิธีการรักษาโดย่สวนใหญ่มักรักษาตามอาการที่แสดงแตกต่างกันไปแต่ละคน


แต่รู้หรือไม่? ความเชื่อเรื่องวิธีการรักษาบางประเภท ไม่ใช่วิธีการรักษาโรคหวัด ที่ถูกต้อง มิหนำซ้ำ ยังอาจทำให้อาการของ โรคหวัดเพิ่มมากขึ้นกว่าเก่า ซึ่งความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการรักษาโรคหวัด จะมีเรื่องอะไรกันบ้าง ไปหาคำตอบกันเลยค่ะ


อาการของ โรคหวัด

โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคหวัด มักมีอาการที่พบได้บ่อย เช่น อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และเจ็บคอ อาจมีไข้ หรือมีอาการไอร่วมด้วย แต่โดยทั่วไป มักสามารถหายได้เองตามธรรมชาติ จากภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ละบุคคล เฉลี่ยภายใน 7-10 วัน


3 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการรักษา โรคหวัด

1. วางก้อนน้ำแข็งบนท้ายทอย ช่วยให้หายจากโรคหวัด?

จริง ๆ แล้ว น้ำแข็งมีประโยชน์ในด้านการช่วยบรรเทาอาการบางอย่าง เช่น บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ จากคอเคล็ด การนอนตกหมอน หรือช่วยลดอาการอักเสบ อาการปวดในระยะช่วงเริ่มต้น แต่ น้ำแข็ง ไม่ได้มีสรรพคุณในการช่วยรักษาหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำน้ำแข็งวางบนท้ายทอยเพื่อรักษาอาการหวัด

2. การนำสำลีชุบแอลกอฮออล์วางบนสะดือ เพื่อรักษาโรคหวัด

หนึ่งในความเชื่อและข่าวแชร์ผิด ๆ ที่ว่า หากนำสำลีมาแช่ หรือชุบแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 50% เป็นต้นไป แล้วนะไปวางบนสะดือ จะช่วยรักษาโรคหวัด อาการไข้สูง ตัวร้อน อาการไอ อาการปวดท้อง หรือแม้กระทั่งช่วยเรื่องอาการปวดท้องประจำเดือนได้นั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด และไม่ได้ช่วยในด้านการรักษาโรคหวัดแม้แต่น้อย

3. ทานเบกกิ้งโซดา ช่วยให้หายจากไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่

ความเชื่อเรื่องการทานเบกกิ้งโซดาที่นำไปละลายน้ำ จะช่วยรักษาไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่นั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากเบกกิ้งโซดา หรือ โซเดียมไบคาร์บอเนต คือส่วนผสมในการทำเบเกอรี่เท่านั้น ไม่มีผลต่อการรักษาโรคใด ๆ ทั้งสิ้น


การรักษาโรคหวัดเบื้องต้นที่ถูกวิธี

  1. ดื่มน้ำมาก ๆ ในปริมาณที่เพียงพอแต่ละบุคคล

  2. พักผ่อน นอนหลับให้เพียงต่อ

  3. ใช้ยาสามัญประจำบ้านในการบรรเทาอาการเบื้องต้น เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก หรือยาแก้ไอ


โรคหวัด คือ โรคสามัญที่สามารถหายได้ด้วยตัวเอง ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 7-10 วัน เพราะฉะนั้น ก่อนใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ตามอินเทอร์เน็ต หรือตามความเชื่อ จึงควรศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่าง เภสัชกรหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกครั้ง


และหากอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการมีระดับความรุนแรงมากขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคและพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ อย่าลืมดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคภัยกันด้วยนะคะ


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  • (no date) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. ). Available at: https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/2053 (Accessed: October 28, 2022).

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา