รวม 5 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ การคุมกำเนิดและการทานยาคุมกำเนิด

คุมกำเนิด

เริ่มเดือนพฤศจิกายน อีกหนึ่งเทศกาลที่หลาย ๆ คนตั้งตารอ คือ เทศกาลลอยกระทง ซึ่งมาพร้อมกับข้อมูลที่น่าสนใจจากกรมอนามัยว่า วันลอยกระทง ถือเป็นอีกหนึ่งวันที่เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน เสี่ยงต่อการติดโรคในระบบสืบพันธุ์และการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม การใช้ถุงยางอนามัยและการ คุมกำเนิด ที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้


บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับ 5 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการ คุมกำเนิด และการใช้ยาคุมกำเนิด ค่ะ

 

Question 1: ใช้วิธีการหลั่งนอกแทนการ คุมกำเนิด ได้หรือไม่ ?

ไม่ได้ เนื่องจากการหลั่งนอกไม่ถือว่าเป็นการคุมกำเนิด เนื่องจากยังคงมีการสัมผัสสารคัดหลั่งระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงทั้งการตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่พร้อมและการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงควรเลือกใช้การ คุมกำเนิด ที่เหมาะสม เช่น การใช้ถุงยางอนามัยที่สามารถป้องกันทั้งการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ ได้ หรือการเลือกใช้ยาคุมกำเนิดที่เหมาะสม


Question 2: การนับระยะปลอดภัย จัดว่าเป็นการคุมกำเนิด ที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ ?  

ไม่ใช่ เนื่องจากการนับระยะปลอดภัย หรือที่รู้จักกันว่า หน้า 7 หลัง 7 คือการคาดการณ์วันไข่ตก เป็นการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวันไข่ตก ที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์สูง โดย 7 วันก่อนและหลังมีประจำเดือนถือว่าเป็นวันที่ปลอดภัยจากการตั้งครรภ์ แต่วิธีการนี้จะใช้ได้ผลเฉพาะกับผู้ที่มีประจำเดือนสม่ำเสมอเท่านั้น ทั้งนี้ มีปัจจัยหลากหลายที่ส่งผลต่อการหลั่งของฮอร์โมน ทั้งความเครียด ยา โรคต่าง ๆ ที่จะส่งผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ดังนั้น การนับระยะปลอดภัยจึงไม่ใช่วิธีการ คุมกำเนิด ที่แนะนำ และควรใช้การคุมกำเนิดโดยวิธีอื่นที่เหมาะสมแทน


Question 3: สามารถใช้ยาคุมกำเนิด ฉุกเฉินเป็นประจำ แทนยาคุมกำเนิด ที่ต้องทานอย่างสม่ำเสมอ ได้หรือไม่ ?

ไม่ได้ เนื่องจากยา คุมกำเนิด ฉุกเฉิน มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ต่ำกว่ายาคุมกำเนิดชนิดรับประทานอย่างสม่ำเสมอ โดยประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับความเร็วในการรับประทานยาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน โดยหากรับประทานยา คุมกำเนิด ฉุกเฉินภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 85% แต่หากรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์จะลดลงเหลือเพียงแค่ 75% นอกจากนี้ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินยังมีผลข้างเคียงสูง เมื่อเทียบกับยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งผลข้างเคียงที่เจอ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ เลือดออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนผิดปกติ และถ้าหากรับประทานเป็นประจำอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูกได้

ดังนั้น ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน จะแนะนำให้ใช้เฉพาะเมื่อเกิดความล้มเหลวจากการ คุมกำเนิด ปกติ เช่น ถุงยางอนามัยแตก ห่วงคุมกำเนิดหรือยาฝังคุมกำเนิดหลุด หรือกรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น


Question 4: สามารถเริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดในช่วงไหนของเดือนก็ได้ ใช่หรือไม่ ?

ไม่ใช่ เนื่องจากเพื่อให้การใช้ยา คุมกำเนิด มีประสิทธิภาพมากที่สุด การเริ่มใช้ยาคุมกำเนิดที่ถูกต้องควรเริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดเม็ดแรกในวันแรกที่มีประจำเดือน หรือไม่เกินวันที่ 5 หลังจากมีประจำเดือน นอกจากนี้ ควรรับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันในเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อรักษาระดับของยาคุมกำเนิดในร่างกายให้สม่ำเสมอ เพื่อประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงสุด


Question 5: ยาคุมกำเนิด ชนิด 21 หรือ 28 เม็ดแบบไหนคุมกำเนิดได้ดีกว่ากัน ?   

ประสิทธิภาพของยา คุมกำเนิด ชนิด 21 และ 28 เม็ดมีเท่ากัน โดยชนิด 21 เม็ด จะประกอบด้วยเม็ดฮอร์โมนทั้ง 21 เม็ด ให้รับประทานทุกวันติดต่อกัน 21 วัน และเว้น 7 วัน ไม่ต้องรับประทานยา แล้วจึงเริ่มแผงใหม่โดยระหว่างที่เว้น 7 วัน จะมีประจำเดือนมา ในขณะที่ชนิด 28 เม็ด จะมีฮอร์โมน 21 เม็ด และเม็ดแป้งหรือวิตามิน 7 เม็ด โดยรับประทานทุกวัน ในช่วงที่ทานเม็ดแป้งหรือวิตามินจะมีประจำเดือนมา

ดังนั้น การเลือกชนิด 21 หรือ 28 เม็ดแล้วแต่ความสะดวกของผู้รับประทาน ถ้าหากกลัวจะลืมทานยาแผงใหม่หลังจากเว้น 7 วันแนะนำให้เลือกชนิด 28 เม็ดเพื่อป้องกันการลืม


คุมกำเนิด

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง การคุมกำเนิด ที่มีประสิทธิภาพ ดีต่อสุขภาพ ดีต่อรูปร่าง ดีต่อผิวพรรณ ไม่ให้ พลาดตั้งครรภ์  สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  • https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/419
  • https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/qa_full.php?id=4462

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา