การ แยกขยะ เป็นสิ่งที่ทุกคนต่างเคยได้ยินกันจนคุ้นหู แต่ในยุคการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นี้นั้น การ แยกขยะ ในชีวิตประจำวันจึงจำเป็นต้องใช้ความรู้ความเข้าใจมากกว่าที่เคย เพราะขยะที่เราทิ้งอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้
วันนี้เอ็กซ์ต้า พลัส จะพาทุกท่านมาเริ่มต้น แยกขยะ อย่างไร ให้ปลอดภัยทั้งเราและโลกกันค่ะ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของขยะ และถังขยะ
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของขยะ และถังขยะ จะช่วยให้เราเข้าใจว่า ขยะแต่ละประเภท ควรจะทิ้งในถังขยะแบบใด เพื่อให้สามารถจัดการได้อย่างถูกต้อง โดยสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
ประเภทของขยะ |
ตัวอย่าง |
ประเภทถังขยะ |
1. ขยะทั่วไป (General Waste)ขยะที่ย่อยสลายได้ยาก ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือไม่คุ้มค่าแก่การนำไปรีไซเคิล |
ขยะจากสำนักงาน ขยะจากการก่อสร้าง พลาสติก กระดาษ ไม้ แก้ว กระเบื้อง ยาง เศษอิฐ เศษปูน เศษกระดาษ ซองพลาสติก หลอด กระดาษชำระ กล่องอาหาร แก้วกระดาษเคลือบ เปลือกลูกอม ซองขนม ถุงพลาสติกที่ปนเปื้อนเศษอาหาร ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กล่องโฟม พลาสติกห่ออาหาร |
ถังขยะสีน้ำเงิน |
2. ขยะอินทรีย์ (Organic Waste)ขยะจากร้านอาหาร ครัวเรือน ตลาดและการทำการเกษตร ที่สามารถย่อยสลายและเน่าเปื่อยได้ง่าย |
เศษอาหาร เศษผักผลไม้ เศษเนื้อ ใบไม้ กิ่งไม้ ซากสัตว์ มูลสัตว์ ปุ๋ย |
ถังขยะสีเขียว |
3. ขยะอุตสาหกรรม (Industrial Waste)ขยะจากขั้นตอนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งควรพิจารณาแยกชิ้นส่วนที่ยังสามารถนำกลับมาใช้ได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด |
เศษวัสดุในโรงงาน ซากยานพาหนะ ชิ้นส่วนอะไหล่ที่ใช้ในโรงงานต่างๆ เช่น น็อต ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋อง กล่องกระดาษ เศษพลาสติก โลหะ อลูมิเนียม ยางรถยนต์ กล่องเครื่องดื่ม UHT |
ถังขยะสีเหลืองสำหรับขยะรีไซเคิล |
4. ขยะติดเชื้อและขยะอันตราย (Hazardous Waste)ขยะที่เกิดการปนเปื้อน หรือมีส่วนประกอบเป็นวัตถุอันตราย และขยะที่ผ่านการใช้ในโรงพยาบาล |
แบตเตอรี่ กระป๋องสี พลาสติก ฟิล์มถ่ายภาพ ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ โทรศัพท์มือถือ ผลิตภัณฑ์บรรจุยาฆ่าแมลง กระป๋องสเปรย์ เข็มฉีดยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ หน้ากากอนามัย |
ถังขยะสีแดง |
นอกจากนี้ ในยุคการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ขยะในชีวิตประจำวันจากผู้ที่ติดเชื้อ กลายเป็นขยะประเภทที่ 4 หรือขยะติดเชื้อและขยะอันตราย ทั้งหมด
เนื่องจากโรคโควิด-19 สามารถติดต่อได้จากละอองฝอยสารคัดหลั่งของผู้ป่วย และการได้รับเชื้อผ่านทาง ตา จมูก ปาก จากการสัมผัสสิ่งต่างๆ จึงจำเป็นต้อง แยกขยะ และทิ้งให้ถูกวิธีนะคะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางในการจัดการขยะสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ดังนี้
แนวทางการ แยกขยะ อันตรายจากผู้ป่วยโควิด 19
ขยะจากผู้ป่วยโควิด 19 ควรเก็บรวบรวมเป็นประจำทุกวัน ด้วยการใส่รวมในถุงพลาสติก 2 ชั้น โดยใช้ถุงสีแดง หรือเขียนข้อความบนถุงขยะว่า “ขยะติดเชื้อ” เพื่อให้เห็นได้ชัดเจน มัดปากถุงชั้นแรกด้วยเชือกให้แน่น แล้วจึงเช็ดปากถุง จากนั้นใส่ในถุงชั้นที่ 2 มัดปากถุงให้แน่น และเช็ดด้วยสารฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์อีกครั้ง
สำคัญ ควรเคลื่อนย้ายขยะไปยังจุดรับทิ้งขยะติดเชื้อที่จัดไว้โดยเฉพาะ เพื่อรอการจัดเก็บจากหน่วยงานที่รับผิดชอบอีกครั้ง
ทั้งนี้ การแยกขยะ เป็นเรื่องที่ง่าย และใกล้ตัวมากกว่าที่คิด หากทุกคนร่วมมือร่วมใจกันแยกขยะและทิ้งขยะอย่างถูกวิธี นอกจากจะส่งผลดีต่อโลกแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพของเราด้วยนะคะ เอ็กซ์ต้า พลัส จึงขอเป็นกำลังให้ทุกท่าน แยกขยะ กันอย่างถูกวิธี เพื่อให้ปลอดภัยทั้งโลกและเรากันนะคะ💚🌎
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
เอกสารอ้างอิง
- mnre.go.th. 2022. การจัดการขยะมูลฝอย – สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี). [online] Available at: <http://reo13.mnre.go.th/th/information/list/1842> [Accessed 27 July 2022].