คุมกำเนิด แต่ละวิธี มีโอกาส พลาดตั้งครรภ์ สูงแค่ไหน?

พลาดตั้งครรภ์

การคุมกำเนิด คือการป้องกันการตั้งครรภ์ เพื่อไม่ให้ พลาดตั้งครรภ์ โดยไม่ให้อสุจิผสมกับไข่หรือป้องกันการฝังตัวของตัวอ่อนที่โพรงมดลูก ซึ่งการคุมกำเนิดมีหลากหลายวิธีสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้ ทั้งนี้ไม่มีการคุมกำเนิดวิธีใดที่จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% ค่ะ

ซึ่งอัตราความล้มเหลวในการคุมกำเนิด สามารถคำนวณได้ 2 แบบค่ะ
1. Perfect Use – คืออัตราความล้มเหลวที่เกิดจากการคุมกำเนิดไม่ได้ผล ทั้งที่ผู้ใช้งานปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
2. Typical Use – คืออัตราความล้มเหลวที่เกิดจากผู้ใช้ เช่นใช้การคุมกำเนิดผิดวิธี ซึ่งถ้าตัวเลขยิ่งสูงแสดงว่ามีโอกาสสูงที่การคุมกำเนิดจะล้มเหลว จึงมีโอกาส พลาดตั้งครรภ์ ได้สูง


ซึ่งอัตราความล้มเหลวแบบ Typical Use เป็นตามตารางด้านล่างเลยค่ะ

วิธีคุมกำเนิด

 อัตราการล้มเหลวแบบ Typical use

ยาคุมฉุกเฉิน

15-25%

นับวันปลอดภัย

24%

หลั่งภายนอก

22%

ถุงยางอนามัย

18%

ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดรับประทานแบบรายเดือน

9%

ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง 3-5 ปี

0.05%

ทำหมัน (ชาย – หญิง)

0.15, 0.5%

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด สามารถใช้การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพดี 2 ชนิดควบคู่กัน (Dual Method) เช่นใช้ถุงยางอนามัยควบคู่กับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบรายเดือน นอกจากนี้การใช้ถุงยางอนามัยยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย


นอกจากประสิทธิภาพแล้ว การคุมกำเนิดแต่ละวิธีก็ยังส่งผลแตกต่างกันบางเรื่องด้วย เช่น ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ไม่เท่ากัน  สามารถปรึกษาเภสัชกรเอ็กซ์ต้าพลัสเพื่อเลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับผู้ใช้มากที่สุดได้เลยค่ะ


พลาดตั้งครรภ์

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ ดีต่อสุขภาพ ดีต่อรูปร่าง ดีต่อผิวพรรณ ไม่ให้ พลาดตั้งครรภ์  สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  1. World Health Organization. Medical eligibility criteria for contraceptive use 5th edition. 2015.
  2. พิชญา ดิลกพัฒนมงคล, ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ยาคุมฉุกเฉิน..เรื่องจริงที่ผู้หญิงต้องรู้. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/54/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/ (สืบค้นวันที่ 13 เม.ย. 2565).
  3. De Leo, et al. Hormonal contraceptives: pharmacology tailored to women’s health. Human Reproduction Update, Vol.22, No.5 pp. 634–646, 2016.

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา