ยาคุมฉุกเฉิน ตัวเลือกสุดท้าย ใช้เมื่อจำเป็น

ช่วงนี้มีคำถามเกี่ยวกับ ยาคุมฉุกเฉิน ทาง Inbox และหน้าร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส พอสมควร วันนี้พี่เภสัชกร เอ็กซ์ต้า พลัส จึงขอรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ที่เป็นประโยชน์ให้ตามด้านล่างนี้

ยาคุมฉุกเฉิน ใช้ยังไง?

ยาคุมฉุกเฉินชนิดเม็ดรับประทาน มีส่วนประกอบหลักคือฮอร์โมนชื่อ Levonorgestrel  ซึ่งมีรูปแบบคือ  แบบฮอร์โมน 1.5 มิลลิกรัม 1เม็ด และ แบบฮอร์โมน 0.75 มิลลิกรัม 2เม็ด  ซึ่งการรับประทานยาที่ถูกต้องคือ รับประทานยาให้เร็วที่สุดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมง และถ้ากินแบบ2เม็ด จะต้องรับประทานยาเม็ดที่สองหลังจากรับประทานยาเม็ดแรกแล้วไม่เกิน 12 ชั่วโมง ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ซ้ำหลังจากกินยาคุมฉุกเฉินไปแล้วเกิน 24 ชั่วโมง ต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรใกล้บ้านให้ซักประวัติ แนะนำสิ่งที่ควรทำให้เหมาะสม   เพื่อให้ได้การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและพบอาการข้างเคียงน้อยที่สุดด้วย


ประสิทธิภาพในคุมกำเนิดได้แค่ไหน?

ทั้งแบบ1เม็ดและ2เม็ด มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไม่แตกต่างกัน ซึ่งการใช้ยาชนิด 1เม็ด จะมีความสะดวกมากกว่าการใช้ยาชนิด 2เม็ด  แต่ก็พบว่ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมากขึ้นด้วยนะคะ เพราะด้วยปริมาณฮอร์โมนสูง  (ซึ่งหากอาเจียนภายใน 2ชั่วโมงหลังรับประทานยาแต่ละเม็ด  จำเป็นต้องรับประทานยาใหม่ค่ะ)

การเริ่มกินยาเม็ดแรกภายใน 24ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์ จะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 85%  แต่หากเริ่มช้ากว่านั้นโดยรับประทานเม็ดแรกภายใน 72ชั่วโมง หลังมีเพศสัมพันธ์  จะเหลือประสิทธิภาพเพียง75%  ในกรณีที่มีน้ำหนักตัวมากหรือกินยาอย่างอื่นร่วมด้วย  ก็อาจจะส่งผลต่อระดับยาในกระแสเลือด  ทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลง (กรณีนี้ก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเช่นกันค่ะ)


อันตรายหรือไม่?

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินจัดเป็นยาอันตราย หากใช้ยาไม่ถูกต้องอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้ แต่ในระยะสั้นอาจส่งผลกระทบต่อไปนี้ เช่น

มีเลือดคล้ายประจำเดือนออกผิดปกติหรือออกกะปริบกะปรอย, ตกขาวเป็นสีน้ำตาล (มักเกิดในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากรับประทานยา), ประจำเดือนอาจคลาดเคลื่อนไปบ้างโดยมาเร็วหรือมาช้าไปราว 1 สัปดาห์, ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย, คัดตึงเต้านม คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องช่วงล่าง ประจำเดือนมาก  และหากรับประทานยามากเกินไปอาจส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติที่รังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูก ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้รับประทานเกิน 4เม็ด หรือ 2ครั้งต่อเดือน  ..แต่ให้ดีที่สุดคือควรหลีกเลี่ยง หากไม่จำเป็น วางแผนคุมกำเนิดด้วยยาเม็ดคุมกำเนิดแบบรายเดือนจะมีปลอดภัยกว่าค่ะ


จากข้อมูลทั้งหมดข้างต้น  ทำให้ยาคุมฉุกเฉินถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ตามชื่อ Emergency Contraceptive  ก็คือใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเร่งด่วนเท่านั้น เช่น ผู้หญิงที่ถูกข่มขืน หรือ กรณีที่ถุงยางอนามัยรั่วฉีกขาด   ไม่ควรใช้เป็นวิธีคุมกำเนิดหลักแบบกินทุกวันและห้ามใช้เป็นยาทำแท้งเด็ดขาด เพราะนอกจากมันจะไม่ได้ผลแล้วยังอันตรายมากด้วย


ดังนั้นโดยปกติ หากมีสุภาพสตรีมาปรึกษาการใช้ยาคุมกำเนิดทั่วไป  โดยไม่มีโรคประจำตัว  เภสัชกรส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดแบบรายเดือนรุ่นใหม่ เพราะมีงานวิจัยรองรับว่าคุมกำเนิดได้สูงถึง 99.9% และพบผลข้างเคียงน้อยกว่ายาคุมรุ่นเก่า ทั้งเรื่องน้ำหนักเพิ่ม คลื่นไส้ เป็นสิว  เป็นต้น..  คุมกำเนิดทั้งที เลือกสิ่งที่ทำให้สบายใจกันดีกว่าค่ะ



หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  1. พิชญา ดิลกพัฒนมงคล, ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ยาคุมฉุกเฉิน..เรื่องจริงที่ผู้หญิงต้องรู้. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/54/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/ (สืบค้นวันที่ 13 เม.ย. 2565).
  2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. “ใช้ยาคุมฉุกเฉินแทนยาคุมกำเนิดแบบปกติได้จริงหรือ”. https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/infographic/detail/73/2008 (สืบค้นวันที่ 13 เม.ย. 2565).
  3. JAISAMRARN U, REINPRA YOON D, VIRUTAMASEN P. Clinical Study of a Monophasic Pill Containing 20 µg Ethinylestradiol and 150 µg Desogestrel in Thai Women. J Med Assoc Thai 2001; 84 (Suppl 1): S377-S

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา