ท้องทิพย์ อาการนี้มีจริงหรือไม่ ?

ท้องทิพย์

ถึงหน้าท้องจะโตขึ้น ประจำเดือนไม่มา มีอาการคล้ายแพ้ท้อง หรือแม้กระทั่งรู้สึกว่าลูกดิ้น ..ก็อาจจะไม่ได้แปลว่า ตั้งท้องจริงนะคะ นี่อาจจะเป็น “ภาวะตั้งครรภ์เทียม” ก็ได้


ภาวะตั้งครรภ์เทียม (Pseudocyesis) มีอยู่จริง แต่พบได้ไม่บ่อย อาจจะพบได้ในกลุ่มคนที่มีประวัติว่าอยากมีบุตรมากๆ หรือมีความกดดันจากคนรอบข้างเรื่องการตั้งครรภ์ได้ โดยพบบ่อยในหญิงช่วงอายุ 20 – 39ปี

ยังไม่พบสาเหตุ ที่ชัดเจน แต่อาจมาจากหลายปัจจัย เช่น การขยายตัวของลำไส้ มีการสะสมของชั้นไขมันหน้าท้อง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การหดเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ทำให้มีการขยับจนคล้ายกับการมีลูกดิ้นได้ในบางราย

การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และการที่มีลมอยู่ในระบบทางเดินอาหารซึ่งส่งผลให้เกิดอาการคล้ายแพ้ท้องหรือตั้งครรภ์

ใครสงสัยว่าตัวเองท้องทิพย์ หรือ ท้องจริง สามารถตรวจสอบไม่ยากแต่ต้องเป็นการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

แต่ถ้าหากใครยังไม่พร้อมตั้งครรภ์จริง ในปัจจุบันก็มีตัวช่วยที่หลากหลายวิธีในการคุมกำเนิด เช่น การสวมถุงยางอนามัย ฉีดยาคุมกำเนิด ใส่ห่วงคุมกำเนิด ฝังยาคุมกำเนิด และแผ่นแปะคุมกำเนิด หรือยาคุมชนิดรับประทานแบบรายเดือนซึ่งสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา โดยที่ยาคุมกำเนิดในปัจจุบันถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้สูงถึง 99.9%  โดยไม่ทำให้น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง  และพบผลข้างเคียงน้อยลงเมื่อเทียบกับยาคุมกำเนิดสูตรเก่า  ไม่ว่า คัดตึงเต้านม ปวดหัวคลื่นไส้ เป็นสิว  ทำให้รับประทานยาต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องกังวล  ยกตัวอย่างเช่น ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวมที่มีฮอร์โมนโปรเจสติน ชื่อ Norgestimate (นอร์เจสติเมท) หรือ Desogestrel (ดีโซเจสทริล)  ผสม กับฮอร์โมนเอสโตรเจนปริมาณตํ่า เช่น 20 – 30 ไมโครกรัม เป็นต้น


ท้องทิพย์

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  1. วิทยา ถิฐาพันธ์. ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. “ท้องลม… ท้องหลอก”. https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=501 (สืบค้นวันที่ 13 เม.ย. 2565)
  2. Jaisamrarn, et al. “Clinical study of a Monophasic pill containing 20 micrograms Ethinylestradiol and 150 micrograms Desogestrel in Thai women”. J Med Assoc Thai, Vol.84 (1): June 2001; S377-S383.

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย อารมณ์และจิตใจ

สร้างบ้านให้เป็น Safe Zone อยู่ด้วยกันอย่างเข้าใจและมีความสุข

เนื่องในวันครอบ

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

ตกขาวสีเหลือง เกิดจากอะไร แบบไหนอันตรายที่ผู้หญิงต้องระวัง

ตกขาวสีเหลือง เ

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

ผื่นแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ? พร้อมวิธีสังเกตและการดูแลผื่น

“ผื่น” อาการผิด

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

ฮีทสโตรก อาการเป็นอย่างไร ปฐมพยาบาลอย่างไรเมื่อพบผู้ป่วย

อาการฮีทสโตรก ส

ความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร สุขภาพแต่ละช่วงวัย โภชนาการ

รวม 5 อาหาร ช่วยปรับสมดุลผู้สูงอายุ สุขภาพดีสู้ร้อน

เมื่ออายุเพิ่มม

สุขภาพแต่ละช่วงวัย

ไข้คืออะไร? รับมืออย่างไรในวันที่มี ไข้สูง

ไข้สูง คือ ภาวะ