“ความเครียด” เป็นภาวะของอารมณ์ เมื่อเราต้องเจอกับปัญหาต่างๆ จนเกิดความไม่สบายใจ วิตกกังวล รู้สึกกดดัน จนอาจทำให้ นอนไม่หลับ เป็นต้น
คนส่วนใหญ่มักจะเกิดความเครียดโดยที่ไม่รู้ตัว เนื่องจากเรามักจะตอบสนองต่อความเครียดไม่เหมือนกัน เพราะเมื่อเกิดความเครียด เราจะแสดงออกมาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และพฤติกรรมต่างกัน บางคนหงุดหงิดง่าย บางคนป่วยง่าย และบางคน นอนไม่หลับ
ปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างง่ายดายในโลกโซเชียลมีเดีย อาจทำให้เราพาตัวเองเข้าไปในเนื้อข่าวตลอดเวลา ทำให้เกิดความรู้สึกร่วม ทั้งแง่บวกหรือแง่ลบ เกิดความสับสน วิตกกังวลต่อเนื่อง ส่งผลให้เครียดโดยไม่รู้ตัว และ นอนไม่หลับ ในที่สุด
การ นอนไม่หลับ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มอาการ คือ
-
การหลับยาก หมายถึง กว่าจะหลับได้นั้นจำเป็นต้องใช้เวลา และความพยายามนานกว่าปกติ อาจเป็นชั่วโมงหรือมากกว่านั้นนับตั้งแต่หัวถึงหมอน
-
ตื่นบ่อยกลางดึก อาจจะไม่ได้หลับยากเหมือนกลุ่มแรก แต่หลับได้ไม่สนิท จะหลับๆ ตื่นๆ ตลอดคืน
ทั้งอาการหลับยาก และการตื่นบ่อยกลางดึก จะนำไปสู่การนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท และหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาในที่สุด
สาเหตุของการ นอนไม่หลับ เกิดจากอะไรได้บ้าง
-
สาเหตุทางกาย เกิดความเจ็บป่วย ไม่สบายตัว หรืออาการของโรคบางชนิด เช่น ปวดหัว ปวดฟัน อาจส่งผลให้หลับยาก หรือหลับๆ ตื่นๆ รวมไปถึงโรคนอนกรน ภาวะวัยทอง ก็สามารถส่งผลต่อคุณภาพของการนอนหลับได้
-
สาเหตุทางใจ เป็นผลมาจากความเครียด ความวิตกกังวล ไม่ว่าจะจากการทำงาน การเสพสื่อโซเชียลมีเดีย หรือสถานการณ์ที่บีบคั้นต่างๆ ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการนอนไม่หลับ และสาเหตุทางใจ ยังเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้นอนไม่หลับอีกด้วย
การนอนไม่หลับส่งผลเสียต่อสุขภาพในหลายด้าน คือ
-
รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง จิตใจไม่สดชื่นแจ่มใส หงุดหงิดง่าย
-
สมองมึนงง หลงๆ ลืมๆ ไม่ตื่นตัว ไม่มีสมาธิในการทำงาน การตัดสินใจผิดพลาดง่าย
-
การควบคุมตัวเองเสียไป ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว
-
ออกกำลังกาย การได้ยืดเส้นยืดสาย ทำให้ร่างกายได้คลายเครียดไปด้วย
-
ฝึกจิต ปล่อยวาง ลดความเครียด เพื่อให้ไม่เราจมอยู่กับปัญหาบางอย่างมากจนเกินไป
-
ปรับความคิด ไม่จมอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากจนเกินไป เสพข้อมูลข่าวสารต่างๆ อย่างเป็นกลาง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความวิตกกังวลต่อเนื่องจนส่งผลให้นอนไม่หลับ
-
ผ่อนคลายความเครียด เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เป็นการพาตัวเองออกมาจากเรื่องเครียดสักระยะ
ความเครียด และความวิตกกังวล ส่งผลอย่างมากต่อการ นอนไม่หลับ ดังนั้น เราควรรักษาจิตใจเราให้ไร้กังวล เพื่อที่จะส่งผลให้เรานอนหลับสนิทตลอดคืน ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็จะทำให้เรามีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
เอกสารอ้างอิง
- กรมสุขภาพจิต. 5 ทริคง่ายๆ จัดการความเครียดด้วยตัวเอง. https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30866., สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565.
- กรมสุขภาพจิต. อาการแบบไหนเข้าข่ายนอนไม่หลับ. https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30409., สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565.
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย.โรคนอนไม่หลับ. go.th/kcmh/โรคนอนไม่หลับ., สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565.
- ผศ. นพ. ธีรศักดิ์ สาตรา ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. นอนไม่หลับ. https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=281.,สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565.