อายุน้อยร้อยอารมณ์ แจกไอเดียทำ Mood Tracker เรียนรู้อารมณ์ เพิ่มแรงใจได้ทุกวัน

เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสภาวะอารมณ์แปรปรวน บ่อยครั้งที่เราอาจมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่รู้หรือไม่ว่านั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงอาการป่วยบางอย่างอยู่ และเนื่องในวันที่ 30 มีนาคม อายุน้อยร้อยอารมณ์ Mood Tracker ในทุกปีเป็นวันนี้ เอ็กซ์ต้า พลัส จึงขอแจก 3 ไอเดียทำ Mood Tracker ตัวช่วยเรียนรู้อารมณ์ และเพิ่มแรงใจให้คุณได้ทุกวันมาฝากกันค่ะ


 𝗠𝗼𝗼𝗱 𝗧𝗿𝗮𝗰𝗸𝗲𝗿

             เครื่องมือ หรือการจดบันทึกอารมณ์ ความรู้สึก ผ่านสมุดบันทึก การวาดภาพหรือแอปพลิเคชัน เพื่อติดตามอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน ที่จะช่วยให้เรามองเห็นถึงแบบแผนทางอารมณ์ของตนเอง ว่าในแต่ละวันนั้นตัวเรารู้สึกอย่างไรบ้าง รวมถึงเป็นการหาต้นตอสาเหตุว่าสิ่งใดกันแน่ ที่เป็นตัวกระตุ้นอารมณ์ต่าง ๆ ของเราขึ้นมา

 

ทำความรู้จักกับ โรคไบโพลาร์ (𝗕𝗶𝗽𝗼𝗹𝗮𝗿 𝗗𝗶𝘀𝗼𝗿𝗱𝗲𝗿)โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว สามารถพบได้ในทั้งเพศหญิง และเพศชายเท่า ๆ กัน โดยผู้ป่วย จะมีความแปรปรวนทางอารมณ์สูง

ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สภาพอารมณ์ คือ 

1.ระยะพลุ่งพล่านหรือที่เรียกว่า มาเนีย (Manic Episode) จะรู้สึกว่าตนมีอารมณ์อยากทำกิจกรรมต่าง ๆ มากกว่า ปกติ แม้นอนน้อยแต่ไม่รู้สึกง่วงหรือเพลีย พูดเร็วพูดมาก พูดไม่หยุด สมาธิลดลง การตัดสินใจบกพร่อง เป็นต้น ซึ่งสามารถรับมือได้ด้วยการนำตัวเองออกจากสถานการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นนั้นในทันที เรียนรู้วิธีการผ่อนคลายอารมณ์ (Relaxation Techniques) เช่น การหายใจเข้าลึก ๆ หรือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และพยายามหาสาเหตุหรือตัวกระตุ้น เพื่อทำการหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะนี้

2.ระยะซึมเศร้า (Depressive Episode) จะรู้สึกท้อแท้เบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร เบื่ออาหารหรือทานมากกว่าปกติ รู้สึกไร้ค่า สิ้นหวัง อ่อนเพลีย ทำร้ายตัวเองหรืออยากฆ่าตัวตาย เป็นต้น สามารถรับมือได้ด้วยการออกกำลังกาย หากิจกรรมให้ร่างกายได้ขยับตัวปรับเปลี่ยนทัศนคติ เช่น  “เมื่อเริ่มรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ” ให้เปลี่ยนการคิด เป็น “แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าเราไม่ดี” เปรียบเหมือนการท้าทายตัวเองเพื่อจัดการกับความคิดลบนั้น

ซึ่งสาเหตุของโรคเชื่อว่ามาจากการทำงานที่ผิดปกติในสมอง ในการหลั่งสารสื่อนำประสาทที่ไม่สมดุลและอาจมาจากปัจจัยด้านพันธุกรรมได้เช่นกัน จึงจัดเป็น โรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางอารมณ์ที่ควรให้ความใส่ใจทั้งต่อคนรอบตัว และคนในครอบครัว

ทำความรู้จักกับวันไบโพลาร์โลก

วันไบโพลาร์โลก (World Bipolar Day) ถือเอาวันที่ 30 มีนาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันเกิดของวินเซนต์ แวน โก๊ะ ศิลปินผู้ล่วงลับ ที่คาดว่าน่าจะเป็นหนึ่งในผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ มาจัดตั้งวันไบโพลาร์โลกโดยถูกกำหนดขึ้น เพื่อให้สังคมโลกได้ตระหนักถึงปัญหาสร้างความรู้ความเข้าใจ ว่าเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ และปรับเปลี่ยนมุมมองทางสังคมที่มีต่อโรคนี้

 

อายุน้อยร้อยอารมณ์ แจกไอเดียทำ Mood Tracker เรียนรู้อารมณ์

วิธีการทำสมุดบันทึกรายวัน

1. ทำการจัดหมวดหมู่ หรือสัดส่วนประเภทข้อมูลที่ต้องการเขียนบนหน้ากระดาษ เช่น ส่วนของพลังบวก เรื่องดี ๆ และ ส่วนของพลังลบ เรื่องที่ไม่ดี
2. เขียนเป้าหมายระยะยาวที่ต้องการทำให้สำเร็จ
3. เขียนเป้าหมายรายเดือนที่ต้องการทำให้สำเร็จ
4. เขียนเป้าหมายรายวันที่ต้องการทำให้สำเร็จ

ข้อดีของการทำสมุดบันทึกรายวัน

  1. สามารถจัดการอารมณ์ได้ดีขึ้น
  2. รู้เท่าทันอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง
  3. รู้จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้น
  4. มีทักษะการสื่อสารที่ดี

 

อายุน้อยร้อยอารมณ์ แจกไอเดียทำ Mood Tracker เรียนรู้อารมณ์

วิธีการทำ Mood Chart

1. จัดช่วงเวลาในการประเมินอารมณ์ตัวเอง เช่น หลังจากทำ Mood Chart ทุกสัปดาห์
2. เลือกอารมณ์ หมวดหมู่ที่ต้องการติดตาม
3. ทำเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ

ข้อดีของการทำ Mood Chart

  1. สามารถรับรู้รูปแบบอารมณ์ของตนเองได้มากขึ้น
  2. ในกรณีที่ทำการรักษากับจิตแพทย์ร่วมด้วยนั้น ทำให้สามารถรับรู้ถึงความก้าวหน้าในการรักษาได้

อายุน้อยร้อยอารมณ์-แจกไอเดียทำ-Mood-Tracker-เรียนรู้อารมณ์

วิธีการวาดรูป Mood Tracker 

ช่วยสร้างความสนุกสนานและไม่จำเจ ผ่านภาพวาดและสีสันต่าง ๆ ที่นำมาแทนสภาวะอารมณ์ ขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้บันทึกนั่นเอง เช่น การแทนอารมณ์ลงบนชิ้นพิซซ่า หรือ ใบไม้บนต้นไม้ เป็นต้น

วิธีการเริ่มต้นทำ Mood Tracker

  1.  เลือกภาพที่ต้องการแทนสภาวะอารมณ์ เช่นภาพพิซซ่า 1 ถาด แบ่งเป็น 7 ชิ้นแทนวัน 7 วัน (สัปดาห์) หรือ ขวดโหลที่มีของ 31 ชิ้น แทนวัน 31 วัน(เดือน) เป็นต้น
  2. เขียนตัวเลขแบ่งวันภายใน 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ลงในภาพที่แบ่งเป็นส่วน ๆ
  3.  เลือกสัญลักษณ์ สี และคำที่บ่งบอกอารมณ์ ไว้ด้านข้างของหน้ากระดาษ หรือหน้าแรกของสมุดขึ้นอยู่กับผู้บันทึก
  4. จากนั้นเริ่มต้นบันทึก อารมณ์ของแต่ละวันแทนสีต่าง ๆ ลงบนส่วนของวันนั้น ๆ ได้เลย

การทำ Mood Tracker ไม่เพียงช่วยให้สามารถสังเกตรูปแบบ และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ได้ดี แต่ยังช่วยให้รู้สาเหตุ หรือตัวกระตุ้นให้อารมณ์เกิดการเปลี่ยนแปลง และค้นหาวิธีการรักษาอารมณ์ให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยาสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา