รู้จักยา “เหลียนฮัวชิงเวิน” สมุนไพรจีน

เหลียนฮัวชิงเวิน

ความเป็นมาของสูตรยา “ เหลียนฮัวชิงเวิน แคปซูล”ตัวสูตรยา เหลียนฮัวชิงเวิน ดังกล่าว ถูกคิดค้นขึ้นโดย ศาสตราจารย์ อู๋ อี่ หลิง แห่ง Chinese Academy of Engineering, China ในช่วงปี ค.ศ. 2002 ซี่งเป็นช่วงที่เกิดการระบาดของโรค SARS


โดย ศาสตราจารย์ อู๋ อี่ หลิง ได้ทำการวิจัยและคิดค้นยา เหลียนฮัวชิงเวิน แคปซูล โดยอ้างอิงพื้นฐานแนวคิดมาจากคัมภีร์โบราณของศาสตร์การแพทย์จีน ได้แก่ ”คัมภีร์เวินปิ้งเถียวเปี้ยน”  “คัมภีร์เวินอี้ลุ่น” และ “คัมภีร์ซางหานลุ่น”

“ เหลียนฮัวชิงเวิน แคปซูล” ประกอบด้วยตัวยาทั้งหมด 13 ชนิด โดยมีพื้นฐานเป็นการใช้ยาฤทธิ์เย็นผสมรสเผ็ดและรสขม เพื่อช่วยในการระบายความร้อนและขับพิษออกจากร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คัดจมูกน้ำมูกไหล ไอ ปวดศีรษะ เจ็บคอ คอแห้ง เป็นต้น


ขนาดในการรับประทาน 

เด็ก 6-10 ปี : รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล

เด็ก 10-13 ปี : รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล

เด็กอายุมากกว่า 14 ปีขึ้นไป รับประทานครั้งละ 4 แคปซูล

รับประทานวันละ 3 ครั้ง ได้ทั้งก่อนหรือหลังอาหาร

** สำหรับไข้หวัดทั่วไป รับประทานต่อเนื่อง 3-5 วัน

**สำหรับทอนซิลอักเสบ รับประทานต่อเนื่อง 5 วัน

**สำหรับไข้หวัดใหญ่ รับประทานต่อเนื่อง 5 วัน

รู้จัก “ยาเหลียนฮัวชิงเวิน” สมุนไพรจีน

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาเหลียนฮัวชิงเวินแคปซูล

1. ตำรับนี้เป็นยาเย็น คนที่สภาพร่างกายปกติทานแล้ว อาจไปกระทบระบบม้าม และกระเพาะอาหาร เช่น
อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเสีย
2. การใช้ยาสมุนไพรจีนเหลียนฮัวชิงเวิน ควรซื้อที่สถานพยาบาลหรือร้านขายยา ภายใต้การตรวจวินิจฉัยจากการแพทย์จีน
3. ไม่ควรกินคู่กับสารสกัดฟ้าทะลายโจร หรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น


ข้อควรระวังในการใช้ยาเหลียนฮัวชิงเวินแคปซูล

1. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดัน เบาหวาน หรือ เด็กเล็ก และผู้ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
2. ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต
3. ผู้ป่วยโรคทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ถ่ายเหลว ปวดท้อง เป็นต้น
4. ขณะรับประทานยาชนิดนี้ ควรงดสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ อาหารเผ็ด ทอดและมัน
5. ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาบำรุงร่างกายอื่นๆ
6.  ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดจากความเย็นเป็นสาเหตุ
7.  ไม่สามารถใช้เป็นยาประจำตัวได้ หากรับประทานเกินสามวันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์
8. ห้ามรับประทานในนักกีฬา


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  1. บทความโดย แพทย์จีน ต้นสกุล สังข์ทอง (ซ่ง เซียน เนี่ยน)
    TCM. Dr. Tonsakul Sungthong (Song Xian Nian)
    https://www.huachiewtcm.com/cn/content/8752/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B8%A5-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย อารมณ์และจิตใจ

สร้างบ้านให้เป็น Safe Zone อยู่ด้วยกันอย่างเข้าใจและมีความสุข

เนื่องในวันครอบ

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

ตกขาวสีเหลือง เกิดจากอะไร แบบไหนอันตรายที่ผู้หญิงต้องระวัง

ตกขาวสีเหลือง เ

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

ผื่นแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ? พร้อมวิธีสังเกตและการดูแลผื่น

“ผื่น” อาการผิด

ความรู้ด้านสุขภาพ สุขภาพแต่ละช่วงวัย

ฮีทสโตรก อาการเป็นอย่างไร ปฐมพยาบาลอย่างไรเมื่อพบผู้ป่วย

อาการฮีทสโตรก ส

ความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร สุขภาพแต่ละช่วงวัย โภชนาการ

รวม 5 อาหาร ช่วยปรับสมดุลผู้สูงอายุ สุขภาพดีสู้ร้อน

เมื่ออายุเพิ่มม

สุขภาพแต่ละช่วงวัย

ไข้คืออะไร? รับมืออย่างไรในวันที่มี ไข้สูง

ไข้สูง คือ ภาวะ